Self-test and
Activity Unit 9
คำถาม:หลักสูตรสถานศึกษามีความสำคัญอย่างไร
ตอบ: ในอดีตสถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุจุดหมายตามหลักสูตรกลางที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้เท่านั้น
ปัจจุบันแนวความคิดดังกล่าวเปลี่ยนไป
มีการกระจายอำนาจและมอบหมายให้สถานศึกษามีอำนาจตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น
จึงมีผู้นำแนวความคิดนี้บรรจุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เพื่อให้บังเกิดผลในการปฏิบัติ
ดังข้อความในวรรคสอง มาตรา 27 ที่ว่า
ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง
ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ (สำนักงานปฏิรูปการศึกษา ม.ป.ป.: 15)
จากข้อความตามวรรคนี้แสดงว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะต้องจัดทำสาระในรายละเอียดตามกรอบของหลักสูตรแกนกลางและจัดทำหลักสูตรอื่นบางส่วนเพิ่มเติม
เพื่อสนองความต้องการของผู้เรียนและความต้องการของท้องถิ่นนั้นๆ ดังนั้นบทบาทของสถานศึกษาโดยเฉพาะผู้บริหารและคณะครูจะต้องรับผิดชอบงานทางด้านการจัดทำรายละเอียดของหลักสูตรในทุกเนื้อหาสาระเพิ่มเติม
ทั้งนี้เพื่อให้หลักสูตรตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและท้องถิ่นให้มากที่สุด
ประกอบกับสถานศึกษามีบุคลากรที่มีความพร้อมที่จะกำหนด
รายละเอียดสาระของหลักสูตรเพิ่มเติมได้เอง ในการพัฒนาหลักสูตรระดับสถานศึกษานั้น
นอกจากเป็นบทบาทของบุคลากรของสถานศึกษาโดยตรงแล้ว สถานศึกษาอาจเชิญนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย
ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ มาช่วยจัดทำหลักสูตรให้แก่สถานศึกษาได้
มาช (Marsh,
1997: 8) ได้กล่าวว่า ผู้ที่จะจัดทำหลักสูตรให้แก่โรงเรียนมาจากหลายแหล่ง
จากบุคลากรในโรงเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันอุดมศึกษา
กลุ่มบุคคลจากอุตสาหกรรมและชุมชน เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจนถึงนักการเมือง การที่บุคคลของสถานศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร โดยเฉพาะผู้บริหารและครูผู้สอน
จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวเข้าถึงและเข้าใจความสำคัญ ทิศทางของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างแท้จริง
เพราะได้มีการอภิปราย การตรวจสอบ และการหาข้อยุติอย่างรอบคอบ
เป็นที่แน่ชัดว่าการจัดการเรียนการสอนของครูที่ดำเนินตามหลักสูตรที่ตนมีส่วนร่วมสร้างขึ้นมาเอง
จะทำให้การจัดการสอนสนองความต้องการของผู้เรียนและบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้มากกว่าการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่มีผู้กำหนดมาให้เรียบร้อยแล้ว
นักวิชาการด้านการพัฒนาหลักสูตรต่างเห็นพ้องต้องกันว่า
การกระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรเป็นเรื่องจำเป็นและมีความสำคัญ
จึงบัญญัติศัพท์ที่เกี่ยวกับแนวคิดในการสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรเองไว้มากมาย
เช่น การพัฒนาหลักสูตรที่ยึดโรงเรียนเป็นฐาน (School-based curriculum
development) การพัฒนาหลักสูตรที่ยึดโรงเรียนเป็นหลัก (School-focused
curriculum development) พร้อมทั้งมีความพยายามที่จะมอบอำนาจการตัดสินใจและการบริหารจัดการให้แก่ครูใหญ่หรือผู้บริหารโรงเรียน
โดยบัญญัติศัพท์เรียกแนวความคิดนี้ว่า
การบริหารจัดการที่ยึดแหล่งปฏิบัติการเป็นฐาน (Site-based
Management) หรือการบริหารจัดการที่ยึดโรงเรียนเป็นฐาน (School-based
Management) เป็นต้น
สเตอร์แมน (Sturman, 1989) ได้สรุปถึงประโยชน์หรือข้อดีของการกระจายอำนาจทั้งการบริหารจัดการและการพัฒนาหลักสูตรไปสู่สถานศึกษาไว้ดังนี้
1. มีความสามารถที่จะตัดสินใจให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของท้องถิ่นได้ดีขึ้น
2. มีศักยภาพที่จะสร้างความกระตือรือร้นระหว่างผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
3. มีศักยภาพที่จะส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยได้ดีขึ้น
โดยชักจูงการดึงให้บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมการตัดสินใจมากขึ้น
4. มีศักยภาพในการส่งเสริมให้เกิดโครงสร้างการทำงานที่มีลักษณะเป็นนวัตกรรมมากขึ้น
5. มีประสิทธิภาพในการจัดการศึกษามากขึ้น
หลีกเลี่ยงหรือลดการใช้โครงสร้างการทำงานแบบเดิมลง
6. มีศักยภาพในการนำทรัพยากรของรัฐมาใช้ เพื่อให้เกิดการตอบสนองความต้องการที่เหมาะสมมากขึ้น
7. ลดความขัดแย้งของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง
ๆ
8. เปิดโอกาสให้กลุ่มบุคคลที่ด้อยโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม
9. ส่งเสริมการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นวัตถุวิสัย
ประโยชน์อีกประการหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากการที่สถานศึกษาได้จัดทำหลักสูตรขึ้นใช้เอง
ก็คือสามารถสนองความต้องการ ความถนัด และความสามารถของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง
แม้หลักสูตรกลางจะกำหนดเป็นหลักการไว้ว่า “เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนค้นพบความสามารถ
ความถนัด และความสนใจของตนเอง” (กระทรวงศึกษาธิการ 2533:
1) แต่ก็มักจะไม่ค่อยบรรลุเจตนารมณ์ที่วางไว้แม้ในอดีตและปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะโดยข้อเท็จจริง
สภาพโรงเรียนและธรรมชาติของผู้เรียนในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างและความหลากหลายค่อนข้างสูง เนื้อหาสาระและรายวิชาต่าง ๆ
ที่กำหนดจากส่วนกลางไม่สามารถสนองความต้องการเฉพาะดังกล่าวของโรงเรียนได้
การส่งเสริมให้โรงเรียนกำหนดรายละเอียดของ หรือหลักสูตรแกนกลางหลักสูตรในบางรายวิชาเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับท้องถิ่นและความต้องการของผู้เรียน จึงเป็นทางออกที่จะแก้ปัญหาความจำกัดของความหลากหลายของหลักสูตรได้
คำถาม:สืบค้นเพิ่มเติมจากหนังสือหรือระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
ตอบ: แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
มนุษย์ส่วนใหญ่จะปฏิบัติงานและกระทำการใด ๆ ตามความรู้ ความเชื่อ
และแนวคิดของตนเอง
ดังนั้น การที่ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จะกระทำการและปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด จึงขึ้นอยู่กับความรู้และแนวคิดที่มีเหตุผลและความถูกต้อง อันจะเป็นแนวทาง ขวัญและกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเชื่อมั่นและมุ่งมั่นในการปฏิบัติภารกิจดังกล่าว
ดังนั้น การที่ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จะกระทำการและปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด จึงขึ้นอยู่กับความรู้และแนวคิดที่มีเหตุผลและความถูกต้อง อันจะเป็นแนวทาง ขวัญและกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเชื่อมั่นและมุ่งมั่นในการปฏิบัติภารกิจดังกล่าว
ในอดีตสถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุจุดหมายตามหลักสูตรกลางที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้เท่านั้น
ปัจจุบันแนวความคิดดังกล่าวเปลี่ยนไป
มีการกระจายอำนาจและมอบหมายให้สถานศึกษามีอำนาจตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น
จึงมีผู้นำแนวความคิดนี้บรรจุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เพื่อให้บังเกิดผลในการปฏิบัติ
ดังข้อความในวรรคสอง มาตรา 27 ที่ว่า
ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง
ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ (สำนักงานปฏิรูปการศึกษา ม.ป.ป.: 15)
จากข้อความตามวรรคนี้แสดงว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะต้องจัดทำสาระในรายละเอียดตามกรอบของหลักสูตรแกนกลางและจัดทำหลักสูตรอื่นบางส่วนเพิ่มเติม
เพื่อสนองความต้องการของผู้เรียนและความต้องการของท้องถิ่นนั้นๆ ดังนั้นบทบาทของสถานศึกษาโดยเฉพาะผู้บริหารและคณะครูจะต้องรับผิดชอบงานทางด้านการจัดทำรายละเอียดของหลักสูตรในทุกเนื้อหาสาระเพิ่มเติม
ทั้งนี้เพื่อให้หลักสูตรตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและท้องถิ่นให้มากที่สุด
ประกอบกับสถานศึกษามีบุคลากรที่มีความพร้อมที่จะกำหนด
รายละเอียดสาระของหลักสูตรเพิ่มเติมได้เอง
ในการพัฒนาหลักสูตรระดับสถานศึกษานั้น
นอกจากเป็นบทบาทของบุคลากรของสถานศึกษาโดยตรงแล้ว สถานศึกษาอาจเชิญนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย
ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ มาช่วยจัดทำหลักสูตรให้แก่สถานศึกษาได้ มาช (Marsh,
1997: 8) ได้กล่าวว่า ผู้ที่จะจัดทำหลักสูตรให้แก่โรงเรียนมาจากหลายแหล่ง
จากบุคลากรในโรงเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียน
ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มบุคคลจากอุตสาหกรรมและชุมชน
เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจนถึงนักการเมือง
การที่บุคคลของสถานศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร โดยเฉพาะผู้บริหารและครูผู้สอน
จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวเข้าถึงและเข้าใจความสำคัญ ทิศทางของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างแท้จริง
เพราะได้มีการอภิปราย การตรวจสอบ และการหาข้อยุติอย่างรอบคอบ
เป็นที่แน่ชัดว่าการจัดการเรียนการสอนของครูที่ดำเนินตามหลักสูตรที่ตนมีส่วนร่วมสร้างขึ้นมาเอง
จะทำให้การจัดการสอนสนองความต้องการของผู้เรียนและบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้มากกว่าการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่มีผู้กำหนดมาให้เรียบร้อยแล้ว
นักวิชาการด้านการพัฒนาหลักสูตรต่างเห็นพ้องต้องกันว่า
การกระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรเป็นเรื่องจำเป็นและมีความสำคัญ
จึงบัญญัติศัพท์ที่เกี่ยวกับแนวคิดในการสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรเองไว้มากมาย
เช่น การพัฒนาหลักสูตรที่ยึดโรงเรียนเป็นฐาน (School-based curriculum
development) การพัฒนาหลักสูตรที่ยึดโรงเรียนเป็นหลัก (School-focused
curriculum development) พร้อมทั้งมีความพยายามที่จะมอบอำนาจการตัดสินใจและการบริหารจัดการให้แก่ครูใหญ่หรือผู้บริหารโรงเรียน
โดยบัญญัติศัพท์เรียกแนวความคิดนี้ว่า
การบริหารจัดการที่ยึดแหล่งปฏิบัติการเป็นฐาน (Site-based
Management) หรือการบริหารจัดการที่ยึดโรงเรียนเป็นฐาน (School-based
Management) เป็นต้น
สเตอร์แมน (Sturman, 1989) ได้สรุปถึงประโยชน์หรือข้อดีของการกระจายอำนาจทั้งการบริหารจัดการและการพัฒนาหลักสูตรไปสู่สถานศึกษาไว้ดังนี้
1. มีความสามารถที่จะตัดสินใจให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของท้องถิ่นได้ดีขึ้น
2. มีศักยภาพที่จะสร้างความกระตือรือร้นระหว่างผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
3. มีศักยภาพที่จะส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยได้ดีขึ้น
โดยชักจูงการดึงให้บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมการตัดสินใจมากขึ้น
4. มีศักยภาพในการส่งเสริมให้เกิดโครงสร้างการทำงานที่มีลักษณะเป็นนวัตกรรมมากขึ้น
5. มีประสิทธิภาพในการจัดการศึกษามากขึ้น
หลีกเลี่ยงหรือลดการใช้โครงสร้างการทำงานแบบเดิมลง
6. มีศักยภาพในการนำทรัพยากรของรัฐมาใช้ เพื่อให้เกิดการตอบสนองความต้องการที่เหมาะสมมากขึ้น
7. ลดความขัดแย้งของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง
ๆ
8. เปิดโอกาสให้กลุ่มบุคคลที่ด้อยโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม
9. ส่งเสริมการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นวัตถุวิสัย
ประโยชน์อีกประการหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากการที่สถานศึกษาได้จัดทำหลักสูตรขึ้นใช้เอง
ก็คือสามารถสนองความต้องการ ความถนัด และความสามารถของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง
แม้หลักสูตรกลางจะกำหนดเป็นหลักการไว้ว่า “เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนค้นพบความสามารถ
ความถนัด และความสนใจของตนเอง” (กระทรวงศึกษาธิการ 2533:
1) แต่ก็มักจะไม่ค่อยบรรลุเจตนารมณ์ที่วางไว้แม้ในอดีตและปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะโดยข้อเท็จจริง สภาพโรงเรียนและธรรมชาติของผู้เรียนในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างและความหลากหลายค่อนข้างสูง
เนื้อหาสาระและรายวิชาต่าง ๆ ที่กำหนดจากส่วนกลางไม่สามารถสนองความต้องการเฉพาะดังกล่าวของโรงเรียนได้
การส่งเสริมให้โรงเรียนกำหนดรายละเอียดของ หรือหลักสูตรแกนกลางหลักสูตรในบางรายวิชาเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับท้องถิ่นและความต้องการของผู้เรียน จึงเป็นทางออกที่จะแก้ปัญหาความจำกัดของความหลากหลายของหลักสูตรได้
โดยหลักการทั่วไป ขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตรในระดับชาติหรือระดับสถานศึกษา จะมีวิธีดำเนินการในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ
เริ่มด้วยการกำหนดจุดหมายของหลักสูตร การกำหนดเนื้อหาสาระ การนำหลักสูตรไปใช้
การประเมินหลักสูตร และการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร อย่างไรก็ตาม
แต่ละขั้นตอนอาจมีการกระจายกิจกรรมให้ละเอียดและครอบคลุมมากขึ้นได้ เพื่อให้เหมาะสมกับธรรมชาติของหลักสูตรแต่ละระดับหรือแต่ละประเภท
ทาบา (Taba, 1962) นักพัฒนาหลักสูตรชาวอเมริกัน ให้ความเห็นสนับสนุนให้โรงเรียนเป็นผู้จัดทำหลักสูตรเอง
โดยยึดหลักการดำเนินการจากระดับล่างหรือระดับรากหญ้า ทาบามีความเชื่อว่าครูใน
โรงเรียนซึ่งเป็นผู้สอนโดยตรงควรจะเป็นผู้จัดทำหลักสูตรเองมากกว่าส่วนกลางหรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงเป็นผู้จัดทำและจัดส่งมาให้
และกล่าวว่าครูควรจะเริ่มกระบวนการพัฒนาหลักสูตรจากการสร้างหน่วยการเรียนการสอนในเนื้อหาเฉพาะสำหรับเด็กในโรงเรียนก่อน ความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้
ทาบา (Taba, 1962) ได้กำหนดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรในระดับโรงเรียนออกเป็น 5 ขั้นตอน ซึ่งสามารถปรับใช้ได้กับบริบทของประเทศไทย ดังนี้
1. การผลิตหน่วยการเรียนการสอนหรือหลักสูตรเฉพาะรายวิชา การดำเนินการจะเป็นไปในลักษณะนำร่องกระบวนการจัดทำหลักสูตรในลักษณะหน่วยการเรียนหรือหลักสูตรเฉพาะรายวิชา
มี
กิจกรรมดำเนินการ 8 ประการ ดังนี้
กิจกรรมดำเนินการ 8 ประการ ดังนี้
1.1 การวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน ในขั้นนี้คณะกรรมการหลักสูตรของโรงเรียนจะสำรวจความต้องการของผู้เรียนเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำหลักสูตร
โดยพิจารณาจากช่องว่าง จุดบกพร่องและความหลากหลายแห่งภูมิหลังของผู้เรียน
1.2 การกำหนดจุดหมาย ภายหลังจากได้วิเคราะห์ความต้องการของนักเรียนแล้ว ผู้วางแผนหลักสูตรจะช่วยกันกำหนดจุดหมายที่ต้องการ
1.3 การเลือกเนื้อหา
เนื้อหาสาระหรือหัวข้อเนื้อหาที่จะนำมาศึกษาได้มาโดยตรงจากจุดหมาย คณะผู้ทำหลักสูตรไม่เพียงแต่จะต้องพิจารณาจุดหมายในการเลือกเนื้อหาเท่านั้น
แต่จะต้องพิจารณาความสอดคล้องและความสำคัญของเนื้อหาที่เลือกด้วย
1.4 การจัดเนื้อหา เมื่อได้เนื้อหาสาระแล้ว งานขั้นต่อไปคือ การจัดลำดับเนื้อหา
ซึ่งอาจจัดตามลำดับจากเนื้อหาที่ง่ายไปสู่เนื้อหาที่ยาก
หรืออาจจัดตามลักษณะหรือธรรมชาติของเนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้ การจัดเนื้อหาที่เหมาะสมควรจะสอดรับกับวุฒิภาวะของผู้เรียน ความพร้อมของผู้เรียนและระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
1.5 การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องเลือกวิธีการหรือยุทธวิธีที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้กับเนื้อหาได้ นักเรียนจะทำความเข้าใจเนื้อหาผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่นักวางแผนหลักสูตรและครูเป็นผู้เลือก
1.6 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ครูเป็นผู้ตัดสินวิธีการที่จะจัดและกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ และการจัดลำดับขั้นตอนของการใช้กิจกรรม ในขั้นนี้ครูจะปรับยุทธวิธีให้เหมาะกับนักเรียนเฉพาะกลุ่มที่ครูรับผิดชอบ
1.7 การกำหนดสิ่งที่จะต้องประเมินและวิธีการในการประเมิน ครูผู้สอนในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรจะต้องประเมินและตรวจสอบให้ได้ว่าหลักสูตรดังกล่าวบรรลุจุดหมายหรือไม่ ครูผู้สอนจะต้องเลือกเทคนิควิธีอย่างหลากหลายเพื่อใช้ให้เหมาะสมกับการวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน และให้สามารถบอกได้ว่าจุดหมายของหลักสูตรได้รับการตอบสนองหรือไม่
1.8 การตรวจสอบความสมดุลและลำดับขั้นตอน ผู้จัดทำหลักสูตรจะต้องมุ่งเน้นที่การจัดทำหลักสูตรหรือหน่วยการเรียนการสอนให้คงเส้นคงวาและสอดคล้องภายในตัวหลักสูตรเอง
การดำเนินการในลักษณะนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมและเกิดความสมดุลในเนื้อหาและประเภทของการเรียนรู้
2. การนำหลักสูตรหรือหน่วยการเรียนไปทดลองใช้ เมื่อคณะผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้จัดทำหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรในรูปของสื่อหรือบทเรียนต่าง
ๆ เรียบร้อยแล้ว คณะครูก็จะนำเอกสารหลักสูตรเหล่านั้นไปทดลองสอนในชั้นเรียนที่รับผิดชอบ
มีการสังเกต วิเคราะห์และเก็บรวบรวมผลการใช้หลักสูตรและการจัดกิจการรมในชั้นเรียน
เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการปรับปรุงหลักสูตรให้สมบูรณ์ขึ้นในโอกาสต่อไป
3. การปรับปรุงเนื้อหาในหลักสูตรให้สอดคล้องกัน ในขั้นตอนนี้จะต้องปรับหน่วยการเรียนหรือหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริง โดยพิจารณาความสอดคล้องระหว่างความสามารถของผู้เรียนกับทรัพยากรที่โรงเรียนมีอยู่และกับพฤติกรรมการสอนของครู มีการรวบรวมข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ได้จากการทดลองไว้ในคู่มือครู เพื่อจะใช้เป็นข้อสังเกตและแนวทางที่จะช่วยให้ครูได้จัดกิจกรรม
การสอนอย่างรอบคอบ
4. การพัฒนากรอบงาน ภายหลังจากจัดทำบทเรียนหรือหลักสูตรรายวิชาต่าง ๆ จำนวนหนึ่งแล้ว ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องตรวจสอบหลักสูตรและสื่อในแต่ละหน่วยหรือแต่ละรายวิชา
ในประเด็นของความเหมาะสมและความเพียงพอของขอบข่ายเนื้อหา
และความเหมาะสมของการจัดลำดับเนื้อหา ครูหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาหลักสูตรจะต้องรับผิดชอบจัดทำหลักการและเหตุผลของหลักสูตรโดยดำเนินการผ่านกระบวนการการพัฒนากรอบงาน
5. การนำหลักสูตรไปใช้และเผยแพร่ เพื่อให้ครูที่เกี่ยวข้องนำหลักสูตรไปใช้จริงในระดับห้องเรียนอย่างได้ผล จำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องจัดฝึกอบรมครูประจำการอย่างเหมาะสม
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรทั้ง 5
ขั้นตอนที่กล่าวมามีลักษณะที่เป็นเชิงวิชาการอยู่มาก ดังนั้นเมื่อมีการจัดทำหลักสูตรในสถานการณ์จริงผู้รับผิดชอบสามารถปรับปรุงกิจกรรมและขั้นตอนให้เหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหาวิชา สภาพท้องถิ่นและเงื่อนไขอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตามในเวลาปฏิบัติงาน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็สามารถปรึกษาหารือกับผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ได้
ความได้เปรียบของการสร้างหลักสูตรโดยคณะบุคคลในสถานศึกษาก็คือ
สามารถตรวจสอบผลงานและปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องเหมาะสมได้ตลอดเวลา เพราะมีนักเรียนซึ่งพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการทดลองใช้ในทุกขั้นตอนและตลอดเวลา
หลักสูตรของสถานศึกษาจะประสบความสำเร็จได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องและสอดรับกับจุดหมายของหลักสูตร
เมื่อพิจารณาธรรมชาติของหลักสูตรโดยทั่วไปแล้ว หลักสูตรของแต่ละรายวิชาจะมีจุดเน้นในด้านหนึ่งด้านใดดังต่อไปนี้
ด้านที่หนึ่ง เป็นหลักสูตรที่เน้นทางด้านวิชาการหรือพุทธิพิสัย (cognitive domain) ในลักษณะการส่งเสริมความรู้
ความคิดและสติปัญญา
ด้านที่สอง เป็นหลักสูตรที่เน้นการเสริมสร้างทักษะทางกาย
ซึ่งเน้นกลไกของร่างกายในการกระทำกิจกรรมหรือทักษะพิสัย (psychomotor domain) เช่น วิชาประเภทการงาน การอาชีพ การพลศึกษา นาฎศิลป์และดนตรี เป็นต้น
ด้านที่สาม เป็นหลักสูตรที่เน้นการปลูกฝังทัศนคติ ค่านิยม
จริยธรรมและความประพฤติของผู้เรียน หรือจิตพิสัย (affective domain)
เนื่องจากวิธีการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ มีลักษณะการให้ความรู้ ความเข้าใจ และการฝึกทักษะต่าง ๆ
ไว้จำนวนมากและหลากหลายอยู่แล้ว จึงจะไม่อธิบายซ้ำ
เพราะการสอนในสองด้านแรกเป็นการสอนที่เน้นทางด้านพุทธิพิสัยและด้านปฏิบัติหรือทักษะพิสัย
ที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เป็นการเรียนการสอนที่ตรงไปตรงมา
ตรวจสอบหรือประเมินผลได้ชัดเจนว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว อีกนัยหนึ่งก็คือสามารถบอกได้ว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้และบรรลุจุดหมายที่วางไว้หรือไม่
จึงเป็นเรื่องของการมุ่งผลสัมฤทธิ์แห่งการเรียนรู้ของผู้เรียน การวัดและประเมินผลก็สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้โดยตรง
ส่วนการเรียนรู้ทางด้านจิตพิสัย เป็นการเรียนรู้ที่มีความซับซ้อนกว่า เพราะเป้าหมายของการเรียนด้านนี้ต้องมุ่งถึงขั้นสามารถนำไปปฏิบัติด้วย
ไม่ใช่เพียงการรู้และการเข้าใจในเรื่องจริยธรรมหรือความดีเท่านั้น แต่ที่จำเป็นต้องเน้นการเรียนรู้ทางด้านจริยธรรมเป็นกรณีพิเศษ เพราะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2540 ได้ตระหนักถึงจริยธรรมและคุณธรรมของเยาวชนว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง จึงกำหนดไว้ในมาตรา 81 ว่า รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม
(อักษราพิพัฒน์ 2543: 21) ส่วนพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 ได้ย้ำเรื่องนี้เช่นเดียวกัน ในมาตรา 24 (4) ว่า “จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ
อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม
ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา” (สำนักงานปฏิรูปการศึกษา ม.ป.ป. : 13)
ตามข้อเท็จจริง การศึกษาของประเทศไทยทุกระดับได้เน้นการปลูกฝังค่านิยม
จริยธรรม และคุณธรรมของผู้เรียนตลอดมา
แต่การดำเนินการสอนในเรื่องดังกล่าวยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้มากนัก
เพราะนักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้ทางจริยธรรมเป็นอย่างดี แต่พฤติกรรมที่แสดงออกยังมิได้สอดคล้องกับความรู้ที่มี ดังนั้นถ้าจะสอนให้นักเรียนประพฤติและปฏิบัติตามหลักจริยธรรมอย่างแท้จริง จำเป็นจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่แตกต่างไปจากการเรียนรู้ทางวิชาการในห้องเรียน
โคลเบอร์ก (Kohlberg, 1970 : 120 ) ได้กำหนดวิธีการสอนจริยธรรมที่ได้ผลกับนักเรียน 2 วิธี ดังนี้
วิธีแรก เป็นการสอนระดับห้องเรียน
ยึดการอภิปรายปัญหาจริยธรรมเพื่อมุ่งเน้นการหาเหตุผลที่ดีในการประพฤติตนให้เป็นคนดีตามหลักจริยธรรม
โดยยกกรณีปัญหาจริยธรรมมาเป็นสื่อในการอภิปราย การสอนตามวิธีการนี้ ครูต้องมีความสามารถในการดูแล
กระตุ้นและตะล่อมทิศทางในการหาเหตุผลที่เหมาะสมของผู้เรียนมาประกอบการอภิปราย
วิธีที่สอง เป็นการสอนจริยธรรมจากสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นจริง เป็นหลักสูตรแฝง (Hidden curriculum) ซึ่งดูเหมือนว่าโคลเบอร์กจะให้ความสำคัญแก่การสอนจริยธรรมตามแนวหลักสูตรแฝงเช่นนี้มากกว่า เช่นเดียวกับพอสเนอร์ (Posner, 1992 :11) ซึ่งให้ความสำคัญของหลักสูตรแฝงโดยกล่าวว่า หลักสูตรแฝงเป็นหลักสูตรที่บุคลากรในโรงเรียนอาจไม่ได้รับรู้อย่างเป็นทางการ แต่มีอิทธิพลโดยตรงต่อนักเรียนอย่างลุ่มลึกและยาวนานมากกว่าหลักสูตรที่เป็นทางการของโรงเรียน
นักพัฒนาหลักสูตรหลายคนเชื่อว่า หลักสูตรที่เป็นทางการไม่สามารถสอนจริยธรรมและค่านิยมให้แก่นักเรียนได้ดีเท่าหลักสูตรแฝง
และเรียกชื่อหลักสูตรประเภทนี้หลายชื่อ เช่น Implicit
curriculum (Goodlad, 1984)และ Unstudied curriculum
(Saylor & Alexander, 1974) ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับ
หลักสูตรแฝง หรือ Hidden curriculum
ในทำนองเดียวกัน นักสังคมวิทยาได้บัญญัติคำว่า “socialization” หรือการขัดเกลาทางสังคมนำมาใช้อธิบายการเรียนรู้จริยธรรม
ค่านิยมและพฤติกรรมต่าง ๆ ของคนที่ใกล้ชิดกับเด็ก ว่าเป็นการเรียนรู้จากตัวแบบหรือแบบอย่างของผู้ใหญ่ เด็กจะแยกไม่ออกว่าพฤติกรรมใดดีหรือพฤติกรรมใดไม่ดี
ถ้าผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็นคนดี
ผู้ใหญ่หรือสังคมจะต้องเสนอตัวแบบหรือตัวอย่างพฤติกรรมที่ดีงามให้เด็กได้เลียนแบบ
การสอนจริยธรรมที่ไม่ได้ผลมักเกิดจากความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่ผู้ใหญ่สอนให้เด็กปฏิบัติกับสิ่งที่ผู้ใหญ่ปฏิบัติ
เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าเด็กมักจะประพฤติและปฏิบัติตนตามที่ผู้ใหญ่หรือสังคมปฏิบัติกัน
มากกว่าที่ครูสอนหรือที่ผู้ใหญ่ปรารถนาจะให้เด็กนำไปประพฤติและปฏิบัติ ซึ่งต้องยอมรับว่าสังคมไทยมีพฤติกรรมแบบอย่างของผู้ใหญ่และสังคมที่ไม่พึงปรารถนาให้เห็นเป็นจำนวนมาก แบบอย่างเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการสอนจริยธรรมและคุณธรรมในครอบครัว
และในโรงเรียน
ถ้าจะให้การสอนจริยธรรมในโรงเรียนประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง
ผู้บริหารและครูทุกคนในโรงเรียนต้องเข้าใจอิทธิพลของหลักสูตรแฝง
และต้องร่วมใจกันสร้างบรรยากาศในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้จริยธรรมของนักเรียน
กล่าวคือ
ผู้บริหารจะต้องริเริ่มและประชุมหารือกับครูและบุคลากรทุกประเภทในโรงเรียน
เพื่อร่วมสร้างแบบอย่างที่ดีทางจริยธรรมให้แก่นักเรียน นั่นคือ ถ้าจะสอนให้นักเรียนเป็นคนดี มีจริยธรรม
ผู้บริหาร ครู และบุคลากรในโรงเรียนทุกคนต้องประพฤติตนให้เป็นผู้มีจริยธรรมก่อน
มีการสร้างกฎเกณฑ์
มาตรฐานและระเบียบแบบแผนหรือวัฒนธรรมของโรงเรียนที่เอื้อและส่งเสริมการเรียนรู้และการปฏิบัติตนเชิงจริยธรรมของผู้เรียนให้ถูกต้อง
นอกจากนี้ โรงเรียนจะต้องส่งเสริมการทำกิจกรรมพิเศษของนักเรียน
เช่น โดยการจัดชุมนุม สโมสร และกิจกรรมพิเศษที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำงานและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
มีความเคารพต่อกัน มีความเข้าใจและเอื้ออาทรต่อกัน มีความรับผิดชอบซื่อสัตย์ต่อกัน และคุณสมบัติอื่นๆ ที่ส่งเสริมความมี จริยธรรม แม้ในปัจจุบันนี้สถานศึกษาทั่วไปได้จัดกิจกรรมดังกล่าวอยู่แล้ว
แต่ยังขาดคุณภาพและทิศทางของการจัดกิจกรรม ในโอกาสต่อไปนี้เมื่อสถานศึกษาได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินกิจกรรมการศึกษาเองทั้งหมด
ตามหลักการบริหารจัดการที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผู้บริหารและครูอาจารย์ในโรงเรียนจะต้องมุ่งมั่นและร่วมมือกันวางแผน
กำหนดทิศทางและจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมจริยธรรมของผู้เรียนตามแนวคิดและแนวทางที่ได้กล่าวมาแล้ว
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นแนวความคิดและแนวปฏิบัติทั่วไปอย่างกว้างๆ เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรโดยสถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ เนื้อหาสาระในลำดับต่อไปจะกล่าวถึงแง่มุมและรายละเอียดของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่นำไปปฏิบัติจริงต่อไป
แม้ว่าการพัฒนาหลักสูตรที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน
หรือหลักสูตรสถานศึกษา ตามนัยแห่งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มุ่งหวังจะให้สถานศึกษาดำเนินการจัดทำรายละเอียดของเนื้อหาสาระในหลักสูตรขั้นพื้นฐานเพิ่มเติม
แต่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก็ยังเน้นความสำคัญของเนื้อหาสาระ ประเภท สภาพปัญหาในชุมชน สังคม
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว
ชุมชน และสังคม ดังนั้นนอกจากภารกิจหลักของสถานศึกษาที่จะจัดทำรายละเอียดของหลักสูตรขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดกรอบแล้ว
สถานศึกษายังต้องพิจารณาและจัดทำสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม นอกเหนือจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องและสนองความต้องการของผู้เรียนที่ดำรงชีวิตอยู่ในหมู่บ้าน
ตำบล ท้องถิ่น หรือชุมชนที่มีความแตกต่างกัน
เพื่อให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จในการพัฒนาหลักสูตรและจัดทำเนื้อหาสาระของหลักสูตรทั้งสองประเภทดังกล่าวข้างต้น
จึงขอเสนอรายละเอียด มิติ และมุมมองที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้
จุดหมายของหลักสูตรสถานศึกษา
สถานศึกษาเป็นแหล่งของการแสวงหาความรู้
สถานศึกษาจึงต้องมีหลักสูตรของตนเอง กล่าวคือ หลักสูตรสถานศึกษาประกอบด้วยการเรียนรู้ทั้งมวลและประสบการณ์อื่นๆ
ที่สถานศึกษาแต่ละแห่งวางแผนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
โดยจะต้องจัดทำสาระการเรียนรู้ทั้งรายวิชาที่เป็นพื้นฐานและรายวิชาที่ต้องเรียนเพิ่มเติมเป็นรายปีหรือรายภาค
จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทุกภาคเรียนและกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์จากมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สถานศึกษาจะต้องทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชน ท้องถิ่น วัด
หน่วยงานและสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดผลตามจุดมุ่งหมายที่สำคัญของหลักสูตร 2 ประการ ดังนี้
1.
หลักสูตรสถานศึกษาควรพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความสนุกและความเพลิดเพลินในการเรียนรู้ เปรียบเสมือนเป็นวิธีการสร้างกำลังใจและเร้าใจให้เกิดความก้าวหน้าแก่ผู้เรียนให้ได้มากที่สุด ให้ผู้เรียนทุกคนมีความรู้สูงสุดตามศักยภาพของแต่ละคน
โดยควรสร้างความเข้มแข็ง ความสนใจและประสบการณ์ให้ผู้เรียน และพัฒนาความมั่นใจให้เรียนและทำงานอย่างเป็นอิสระและร่วมใจกัน
ควรให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้สำคัญ ๆ ในการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น
ได้ข้อมูลสารสนเทศและใช้เทคโนโลยีสื่อสาร ส่งเสริมจิตใจที่อยากรู้อยากเห็น
และมีกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล
2. หลักสูตรสถานศึกษาควรส่งเสริมการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ จริยธรรม
สังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะพัฒนาหลักการในการจำแนกระหว่างถูกและผิด ความเข้าใจและศรัทธาในความเชื่อของตน ความเชื่อและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันว่า สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อตัวบุคคลและสังคม
หลักสูตรสถานศึกษาต้องพัฒนาหลักคุณธรรมและความอิสระของผู้เรียน และช่วยพัฒนาให้เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ
สามารถพัฒนาสังคมให้เป็นธรรม มีความเสมอภาค ควรพัฒนาความตระหนัก เข้าใจ
และยอมรับสภาพแวดล้อมที่ตนดำรงชีวิตอยู่
ยึดมั่นในข้อตกลงร่วมกันต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับส่วนตน ระดับท้องถิ่น
ระดับชาติและระดับโลก
หลักสูตรสถานศึกษาควรสร้างให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเป็นผู้บริโภคที่ตัดสินใจแบบมีข้อมูล
เป็นอิสระและเข้าใจในความรับผิดชอบของตน
จุดหมายของหลักสูตรสถานศึกษาทั้งสองประการข้างต้นนี้
เป็นเพียงกรอบหรือแนวทางที่จะให้สถานศึกษาได้นำไปพิจารณา
และกำหนดเป็นรายละเอียดจุดหมายในแต่ละสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในท้องที่ หมู่บ้าน ตำบล
และชุมชน ที่มีสภาพภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และค่านิยมที่แตกต่างกัน
การสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษาจะต้องสนองตอบการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม
การเมืองและสิ่งแวดล้อม เพื่อสนองตอบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ผู้สอนต้องปรับปรุงกระบวนการสอนและประเมินกระบวนการสอนของตน ให้สนองตอบความต้องการของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม การศึกษาจะเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
ถ้ามีการปรับปรุงหลักสูตรตลอดเวลา สถานศึกษาจึงควรดำเนินการในการจัดทำหลักสูตร
ดังนี้
1. กำหนดวิสัยทัศน์
สถานศึกษาจำเป็นต้องกำหนดวิสัยทัศน์เพื่อมองอนาคตว่า โลกและสังคมรอบ ๆ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร สถานศึกษาจะต้องปรับตัว ปรับหลักสูตรอย่างไร
จึงจะพัฒนาผู้เรียนให้เหมาะสมกับยุคสมัย สถานศึกษาต้องมีวิสัยทัศน์ในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา หมายความว่า ผู้บริหารและบุคลากรของสถานศึกษาสามารถมองเห็นและคาดการณ์ได้ว่า
จะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตที่จะมีผลต่อความต้องการของผู้เรียนและชุมชน อันจะนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การศึกษาค้นคว้า และการติดตามความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง
ๆ ของสถานศึกษาจะทำให้สถานศึกษาเกิดวิสัยทัศน์ขึ้นได้
นอกจากนี้การกำหนดวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาจำเป็นจะต้องอาศัยประสบการณ์และความร่วมมือของชุมชน บิดามารดา ผู้ปกครอง ครูผู้สอน ผู้เรียน ภาคธุรกิจ ภาครัฐในชุมชน ร่วมกันกับคณะกรรมการสถานศึกษา ในการแสดงความประสงค์หรือวิสัยทัศน์ที่ปรารถนาให้สถานศึกษาเป็นสถาบันพัฒนาผู้เรียนที่มีพันธกิจหรือภาระหน้าที่ ร่วมกันในการกำหนดงานหลักที่สำคัญของสถานศึกษา พร้อมด้วยเป้าหมาย มาตรฐาน แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการและการติดตามผล ตลอดจนจัดทำรายงานแจ้งสาธารณชน และส่ง ผลย้อนกลับ ให้สถานศึกษาเพื่อปฏิบัติงานที่เหมาะสมและได้มาตรฐานสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติ
2. การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
จากวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้ที่สถานศึกษาได้กำหนดไว้
สถานศึกษาจะต้องจัดทำสาระการเรียนรู้ จากช่วงชั้นให้เป็นรายปีหรือรายภาค
พร้อมกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้ให้ชัดเจน เพื่อให้ครูทุกคนนำไปออกแบบการเรียนการสอน
การบูรณาการโครงการร่วม เวลาเรียน การมอบหมาย/โครงงาน
แฟ้มผลงานหรือการบ้าน โดยวางแผนร่วมกันทั้งสถานศึกษา หลักสูตรดังกล่าวจะเป็นหลักสูตรสถานศึกษาที่ครอบคลุมภาระงานการจัดการศึกษาทุกด้านของสถานศึกษา
3. การกำหนดสาระการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค
สถานศึกษาวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นของกลุ่มสาระต่าง ๆ
จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกำหนดสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้เป็นรายปีหรือรายภาคให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ตามเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาด้วย
พิจารณากำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
พร้อมทั้งพิจารณาใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และสามารถกำหนดในลักษณะผสมผสานบูรณาการ
จัดเป็นชุดการเรียนแบบยึดหัวข้อเรื่อง หรือจัดเป็นโครงงานได้
4. การออกแบบการเรียนการสอน
จากสาระการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง รายปีหรือรายภาค
สถานศึกษาต้องมอบหมายให้ครูผู้สอนทุกคนออกแบบการเรียนการสอน
โดยคาดหวังว่าผู้เรียนสามารถทำอะไรได้ในแต่ละช่วงชั้น เช่น
ช่วงชั้นที่1 ซึ่งมีชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 นั้น
ผู้เรียนจะเรียนรู้สาระของแต่ละเรื่องที่กำหนดได้ในระดับใด ยกตัวอย่างวิชาคณิตศาสตร์
ที่มีสาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
และมีมาตรฐาน ค 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
ผู้เรียนในช่วงชั้นนี้จะสามารถทำอะไรได้ เช่น ในช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นไว้ข้อหนึ่งว่า
มีความคิดรวบยอดและความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับและศูนย์
และผู้เรียนในช่วงชั้นนี้จะมีความสามารถอย่างไร เช่น ผู้เรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สามารถนับได้ 1 ถึง 100 และมากกว่า เป็นต้น การออกแบบการเรียนรู้จะต้องให้ผู้เรียนพัฒนาได้ทั้งด้านความรู้
ความคิด ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์และสังคม
5. การกำหนดเวลาเรียนและจำนวนหน่วยกิต
การจัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี สถานศึกษาต้องตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
โดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในด้านการอ่าน การเขียน การคิดเลข
การคิดวิเคราะห์ และการใช้คอมพิวเตอร์
ด้วยวิธีการสอนที่ยึดหัวข้อเรื่องจากกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หรือสังคมศึกษาเป็นหลักตามความเหมาะสมของท้องถิ่น
บูรณาการการเรียนรู้ด้วยกลุ่มสาระต่างๆ เข้ากับหัวข้อเรื่องที่เรียนอย่างสมดุล
ควรกำหนดจำนวนเวลาเรียนสำหรับสาระการเรียนรู้รายปี ดังนี้
ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 และช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ควรกำหนดจำนวนเวลาสำหรับการเรียนตามสาระการเรียนรู้รายปีให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความจำเป็นในการสอนเพื่อเน้นทักษะพื้นฐาน
เช่น การอ่าน การเขียน การคิดเลข และการคิดวิเคราะห์ โดยเฉพาะช่วงชั้นที่ 1 ซึ่งจะต้องจัดให้ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกเพลิดเพลิน ในแต่ละคาบเวลาไม่ควรใช้เวลานานเกินช่วงความสนใจของผู้เรียน
นอกจากนี้ ผู้สอนอาจจะจัดกิจกรรมเสริม เช่น การฝึกให้เขียนหนังสือเป็นเล่ม เป็นต้น
การเรียนการสอนควรจัดกิจกรรมไปตามความสนใจของผู้เรียน ในช่วงชั้นที่ 1 ผู้สอนควรเข้าใจจิตวิทยาการสอนเด็กเล็กอย่างลึกซึ้ง
สามารถบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้ผสมกลมกลืน ตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของเด็กโดยเฉพาะ
แต่ต้องมุ่งเน้นทักษะพื้นฐานดังกล่าวด้วย สำหรับช่วงชั้นที่ 2 ผู้เรียนซึ่งได้ผ่านการเรียนการเล่นเป็นกลุ่มมาแล้ว
ในช่วงชั้นนี้จึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเริ่มทำงานเป็นทีม การสอนตามหัวข้อเรื่องจึงเป็นเรื่องสำคัญ
หัวข้อเรื่องขนาดใหญ่สามารถจัดทำเป็นหัวข้อย่อย
ทำให้ผู้เรียนรับผิดชอบไปศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อย่อยเหล่านี้
เป็นการสร้างความรู้ของตนเองและใช้กระบวนการวิจัยควบคู่กับการเรียนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 แล้วนำผลงานมาเสนอในชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้ผลงานของกันและกันในรูปแฟ้มสะสมผลงาน
การเรียนในช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ
เป็นการเรียนที่มุ่งพัฒนาความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน
นอกจากสถานศึกษาจะทบทวนการเรียนรู้ในกลุ่มสาระต่าง ๆ
ที่ได้เรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่กำหนดไว้แล้ว
จะต้องจัดการเรียนแบบบูรณาการเป็นโครงงานมากขึ้น
เป็นการเริ่มทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจการศึกษาสู่โลกของการทำงานตามความต้องการของท้องถิ่นและสังคมนวัตกรรมด้านการสอนและประสบการณ์ในการทำงานด้านต่าง
ๆ แม้แต่การเรียนภาษาก็สามารถเป็นช่องทางสู่โลกของการทำงานได้
ต้องชี้แจงให้ผู้เรียนได้ทราบว่าสังคมในอนาคตจะอยู่บนพื้นฐานของความรู้
สถานศึกษาจึงต้องจัดบรรยากาศให้มีสภาพแห่งการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ เป็นตัวอย่างแก่สังคม และควรจัดรายวิชาหรือโครงงานที่สนองความถนัด
ความสนใจของผู้เรียนเพิ่มขึ้นด้วย
การเรียนช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สถานศึกษาต้องจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นหรือการประกอบอาชีพ
ดังนั้นสถานศึกษาควรจัดการเรียนการสอนเพื่อมุ่งส่งเสริมความถนัดและความสนใจของผู้เรียนในลักษณะรายวิชาหรือโครงงาน
แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
เพื่อให้การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามที่คาดหวัง กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดแนวทางการดำเนินงานดังนี้
1. การจัดทำสาระของหลักสูตร มีขั้นตอนดังนี้
1.1 กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค
โดยวิเคราะห์จากมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และจัดเป็นผลการเรียนรู้ การกำหนดการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคควรระบุถึงความรู้
ความสามารถของผู้เรียนซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากการเรียนรู้ในแต่ละปีหรือแต่ละภาคนั้น ๆ
การกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคของสาระการเรียนรู้ของรายวิชาที่มีความเข้ม (Honour
Course) ให้สถานศึกษากำหนดได้ตามความเหมาะสม
สอดคล้องกับการจัดรายวิชา
1.2 กำหนดสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค
โดยวิเคราะห์จากผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคที่กำหนดไว้ใน 1.1 ให้สอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
รวมทั้งสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นและของชุมชน
1.3 กำหนดเวลาและหรือจำนวนหน่วยกิตสำหรับสาระการเรียนรู้รายภาค
ทั้งสาระการเรียนรู้ พื้นฐานและสาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษากำหนดเพิ่มเติมขึ้น
ดังนี้
- ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 กำหนดสาระการเรียนรู้เป็นรายปีและกำหนดจำนวนเวลาเรียนให้เหมาะสมและ สอดคล้องกับมาตรฐานและสาระการเรียนรู้
- ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 กำหนดสาระการเรียนรู้เป็นรายภาคและกำหนดจำนวนหน่วยกิตให้เหมาะสมสอดคล้องกับมาตรฐานและสาระการเรียนรู้
การกำหนดจำนวนหน่วยกิตของสาระการเรียนรู้รายภาคสำหรับช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ใช้เกณฑ์การพิจารณาที่ใช้เวลาจัดการเรียนรู้ 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียนมีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
สาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษาจัดทำเพิ่มขึ้นเป็นวิชาเฉพาะของสายอาชีพหรือโปรแกรมเฉพาะทางอื่น
ๆ ใช้เกณฑ์การพิจารณาคือ สาระการเรียนรู้ที่ใช้เวลาจัดการเรียนรู้ระหว่าง 40-60 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
ทั้งนี้สถานศึกษาสามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสม และใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน
1.4 จัดทำคำอธิบายรายวิชา ทำได้โดยนำผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค
รวมทั้งเวลาและจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดตามข้อ 1.1 – 1.3 นำมาเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา ประกอบด้วยชื่อรายวิชา
จำนวนเวลาหรือจำนวนหน่วยกิต มาตรฐานการเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ของรายวิชานั้น
ๆ
แนวทางในการกำหนดชื่อรายวิชาคือ ชื่อรายวิชาของสาระการเรียนรู้ให้ใช้ตามชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้
ส่วนชื่อที่สถานศึกษาจัดทำเพิ่มเติม สามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ต้องสื่อความหมายได้ชัดเจนและสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายวิชานั้น
1.5 จัดทำหน่วยการเรียนรู้
โดยนำสาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาคที่กำหนดไว้บูรณาการจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้หน่วยย่อย
ๆ เพื่อสะดวกในการจัดการเรียนรู้และผู้เรียนได้เรียนรู้ในลักษณะองค์รวม
หน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วยประกอบด้วย มาตรฐานการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้ และจำนวนเวลาสำหรับการจัดการเรียนรู้
เมื่อเรียนครบทุกหน่วยย่อยแล้ว ผู้เรียนสามารถบรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาคของทุกรายวิชา
ในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้
อาจบูรณาการทั้งภายในสาระการเรียนรู้กลุ่มเดียวกัน เช่น บูรณาการสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับเคมี
ชีววิทยาและฟิสิกส์ เป็นต้น และระหว่างสาระการเรียนรู้ เช่น อาจจะบูรณาการระหว่างสาระการเรียนรู้ของวิทยาศาสตร์กับสังคมและคณิตศาสตร์
เป็นต้น หรือบูรณาการเฉพาะเรื่องตามลักษณะสาระการเรียนรู้
หรือบูรณาการให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน โดยพิจารณาจากมาตรฐานการเรียนรู้ที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน
การจัดการเรียนรู้สำหรับหน่วยการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติโครงงานอย่างน้อย 1 โครงงาน
2. การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัย
วุฒิภาวะ และความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน โดยคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
2.1 จัดกิจกรรมต่างๆ
เพื่อเกื้อกูลส่งเสริมการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น การบูรณาการ โครงงาน องค์ความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นต้น
2.2 จัดกิจกรรมตามความสนใจ ความถนัดตามธรรมชาติ
ความสามารถ และความต้องการของผู้เรียนและชุมชน
เช่น ชมรมทางวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น
2.3 จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกในการทำประโยชน์ต่อสังคม
เช่น กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี เป็นต้น
2.4 จัดกิจกรรมประเภทบริการด้านต่าง ๆ
ฝึกการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม
2.5 ประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมอย่างเป็นระบบ
โดยให้ถือว่าเป็นเกณฑ์ประเมินผลการผ่านช่วงชั้นเรียน
3. การกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์
สถานศึกษาต้องร่วมกับชุมชนกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม
คุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมที่สถานศึกษาจะกำหนดเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น
สามารถกำหนดขึ้นได้ตามความต้องการ
โดยให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังคุณธรรม
จริยธรรมและค่านิยมดังกล่าวให้แก่ผู้เรียนเพิ่มจากที่กำหนดไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง
ๆ
ในแต่ละภาคเรียนหรือปีการศึกษา
ครูผู้สอนต้องวัดและประเมินผลรวมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนโดยประเมินเชิงวินิจฉัยเพื่อปรับปรุงพัฒนาและส่งต่อ
ทั้งนี้ควรประสานสัมพันธ์กับผู้เรียน ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นรายปีหรือรายภาค
สถานศึกษาต้องจัดให้มีการวัดและประเมินผลรวมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้น
เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าและพัฒนาการของผู้เรียน และนำไปกำหนดแผนกลยุทธ์ในการปรับปรุงพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย แนวทางการวัดและประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนด
4. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ
และความต้องการของผู้เรียน โดยให้ผู้สอนนำกระบวนการวิจัยมาผสมผสานหรือบูรณาการใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สามารถใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
มีขั้นตอนการปฏิบัติเริ่มตั้งแต่การ
วิเคราะห์ปัญหา การวางแผนแก้ปัญหาหรือพัฒนาการแก้ปัญหาหรือพัฒนา การเก็บรวบรวมข้อมูล การสรุปผลการแก้ปัญหาหรือพัฒนา การรายงานผลการเรียนรู้และการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้เรื่องที่ 5.3
วิเคราะห์ปัญหา การวางแผนแก้ปัญหาหรือพัฒนาการแก้ปัญหาหรือพัฒนา การเก็บรวบรวมข้อมูล การสรุปผลการแก้ปัญหาหรือพัฒนา การรายงานผลการเรียนรู้และการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้เรื่องที่ 5.3
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
การทำความเข้าใจกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาทุกขั้นตอน
ในเชิงทฤษฎีหรือเชิงหลักการไม่เป็นเรื่องยากแต่อย่างใด
เมื่อนำขั้นตอนและกระบวนการนั้นไปดำเนินการ มักจะเกิดปัญหาและมีอุปสรรคอยู่เสมอ ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นอยู่เสมอ
ความล้มเหลวของสถานศึกษาในการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาจะขึ้นอยู่กับตัวแปรหรือเงื่อนไขหลายประการ
ได้แก่ ความสามารถในการบริหารจัดการหลักสูตร
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้อง
ตลอดจนการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
การบริหารจัดการเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรของสถานศึกษามีคุณภาพและประสิทธิภาพหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยการบริหารจัดการหลักสูตรอย่างเป็นระบบนั่นเอง ซึ่งประกอบด้วย งาน/ภารกิจที่สถานศึกษาจะต้องดำเนินการ 7 ภารกิจ คือ
1. การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา
ภารกิจที่ผู้บริหารและครูผู้สอนตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา
มีดังนี้
1.1 สร้างความตระหนักให้แก่บุคลากรของสถานศึกษา
ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร ครูผู้สอน
ผู้ปกครอง ชุมชน และนักเรียน
เพื่อให้เห็นความสำคัญหรือความจำเป็นที่ต้องร่วมมือกันบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา
1.2 ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการของสถานศึกษาตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
1.3 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน
ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงาน/องค์กรในชุมชนทุกฝ่ายได้รับทราบ และให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา
1.4 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาให้เป็นระบบ
1.5 จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาหรือธรรมนูญสถานศึกษา
1.6 พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้มีความรู้
ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ไปใช้จัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา
2. การจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษาและคณะอนุกรรมการระดับกลุ่มวิชา
จะต้องดำเนินการจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษาดังต่อไปนี้ (กรมวิชาการ 2543 : 19)
2.1 ศึกษาองค์ประกอบของหลักสูตรว่า
กำหนดสาระที่เป็นแกนกลางและสาระของท้องถิ่นไว้อย่างไร
และมีความสอดคล้องสัมพันธ์และสมดุลอย่างไร
2.2 วิเคราะห์ขอบข่ายเนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
ทั้งองค์ประกอบด้านความรู้ทักษะ/กระบวนการ คุณธรรม
จริยธรรมและค่านิยม
2.3 ศึกษาสภาพปัญหาของชุมชนและสังคม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความต้องการของชุมชนและสังคม
2.4 ปรับปรุงสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมในส่วนที่ต้องจัดให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน
2.5 ตรวจสอบความสอดคล้องของสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมกับมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มวิชา
และมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.6 วางแผนการจัดการเรียนการสอนตามขอบข่ายสาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้ สัดส่วน
เวลาและหน่วยกิตตามที่หลักสูตรแกนกลางกำหนด
2.7 พัฒนาแนวการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน
นอกจากนี้ครูควรดำเนินการเพื่อให้การจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษาสมบูรณ์อีก
2 ประการ นั่นคือ กำหนดสื่อการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล
3. การวางแผนบริหารจัดการหลักสูตร
การวางแผนบริหารจัดการหลักสูตรหรือวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร มีภารกิจที่ต้องดำเนินการ
3 ส่วน คือ
3.1 การบริหารการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
เช่น กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
การสอนซ่อมเสริม การประเมินผลตามสภาพจริง เป็นต้น
3.2 การบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
เช่น การวางแผนให้ครูทุกคนสามารถแนะแนวผู้เรียนได้ทั้งด้านการศึกษา
อาชีพและปัญหาอื่น ๆ เป็นต้น
3.3 การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
เช่น การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในและนอกสถานศึกษา
การส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน เป็นต้น
4. การปฏิบัติการบริหารจัดการหลักสูตร
การดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตรให้เป็นไปตามภารกิจที่สอง
หรือการจัดทำสาระของหลักสูตรสถานศึกษา
และภารกิจที่สามหรือการวางแผนบริหารจัดการหลักสูตร ซึ่งสถานศึกษาได้กำหนดไว้
5. การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล
การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ
5.1 การนิเทศ
กำกับ ติดตามและประเมินผลการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการภายในสถานศึกษา
5.2 การนิเทศ
กำกับ ติดตามและประเมินผลการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการจากภายนอกสถานศึกษา
6. การสรุปผลการดำเนินงานบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
สถานศึกษาจะต้องรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา
สรุปและเขียนรายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
และนำผลการรายงานเผยแพร่ให้ชุมชนหรือ สาธารณชนได้รับทราบ
7. การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
ผลการดำเนินงานบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานและข้อมูลจากการติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรทั้งหมด
จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในปีต่อ
ๆ ไป
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้อง
ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาประสบผลสำเร็จก็คือ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทั้งผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลักสูตรที่กระจายอำนาจการจัดการศึกษาแก่สถานศึกษา
ทั้งในด้านการบริหารวิชาการ การบริหารจัดการ และการใช้หลักสูตร
เป็นกระบวนการนำหลักสูตรแกนกลางในระดับชาติไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา
จึงต้องได้รับการสนับสนุน ส่งเสริม และร่วมมือจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับ
โดยที่การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเน้นความสำคัญในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
ซึ่งที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
มาตรา 22 กำหนดแนวทางไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ”
ดังนั้น
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรและจัดกระบวนการเรียนรู้จึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีเป้าหมายที่การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
คือเป็น “คนเก่ง คนดี และมีความสุข” โดยมีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ดังนี้
1. ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษาที่ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา
เข้าใจบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารอย่างถ่องแท้และนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังแบบต่อเนื่อง
จะช่วยให้การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาประสบผลสำเร็จได้อย่างมีคุณภาพ
ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากการสั่งการมาเป็นผู้ร่วม คือ ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรมีบทบาทดังนี้
1.1 จัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาเพื่อใช้ในการดำเนินการจัดการศึกษา
1.2 เป็นผู้นำในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยร่วมประสานกับบุคลากรทุกฝ่าย
เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
ตลอดจนสาระตามหลักสูตรสถานศึกษา
1.3 ประชาสัมพันธ์หลักสูตรสถานศึกษา
1.4 สนับสนุนให้บุคลากรทุกฝ่ายของสถานศึกษามีความรู้และความสามารถในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
1.5 มีการนิเทศภายใน
เพื่อนิเทศ กำกับ ติดตามการใช้หลักสูตรสถานศึกษาอย่างมีระบบ
1.6 จัดให้มีการประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อปรับปรุง
พัฒนาสาระของหลักสูตรสถานศึกษาให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
ชุมชนและท้องถิ่น
2. ครูผู้สอน
ครูผู้สอนมีบทบาทโดยตรงในการร่วมพัฒนาหลักสูตร จัดการเรียนรู้
ครูในยุคปฏิรูปการศึกษาจะต้องปรับเปลี่ยนจากการเป็นผู้สอน
เป็นผู้เอื้ออำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
โดยการชี้แนวทางการนำความรู้จากแหล่งต่างๆ มาใช้ประโยชน์ กล่าวคือ
ทำให้ผู้เรียนรู้วิธีการเข้าถึงแหล่งข้อมูล มีทักษะในการใช้สื่อ
ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการสืบค้นข้อมูลมาใช้ได้สะดวก
วิธีการที่ครูสามารถทำได้ในฐานะผู้เอื้ออำนวยความสะดวกที่ดี เช่น
ให้โอกาสผู้เรียนเข้าไปใช้บริการสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดของโรงเรียน
บอกแหล่งที่มาของข้อมูลให้ผู้เรียนที่สนใจสามารถสืบค้นได้จากซีดีรอม
หรือจากโฮมเพจในอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
นอกจากนี้ ครูยังต้องปรับบทบาทจากการเป็นผู้ป้อนข้อมูล
เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา โดยครูจะต้องตระหนักเสมอว่า
ตนเองไม่ใช่ผู้กำหนดความรู้ แต่เป็นผู้สอนแก่นความรู้ในวิชาที่สอน
และแนะวิธีการคิด ให้กรอบในการวิเคราะห์เนื้อหาวิชาการ
แนะนำการพิจารณาข้อมูลที่จะเลือกนำมาใช้ แนะนำเรื่อง ทั่วๆ
ไปที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของผู้เรียนด้วย เช่น
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การพัฒนาบุคลิกภาพ มารยาท
การป้องกันตนเองจากภัยอันตรายต่าง ๆ เป็นต้น
ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำ
ปรึกษาแก่นักเรียนและเป็นผู้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ก็ต่อเมื่อครูเป็นผู้ที่เรียนรู้มาก่อน
นั่นหมายความว่า ครูจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
เป็นคนช่างสังเกตและคิดแตกฉานกับข้อมูลและความรู้ที่ผ่านเข้ามาในสมองด้วยการตั้งคำถามและหาทางพิสูจน์เรื่องเหล่านี้ให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ครูไม่เพียงแต่จะมีบทบาทหน้าที่ในการจัดการเรียนรู้เท่านั้น
แต่ครูยังต้องมีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ดังต่อไปนี้ (กรมวิชาการ 2543 : 16)
2.1 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจนเข้าใจกระจ่าง
2.2 ศึกษาหลักการ
วิธีการพัฒนาหลักสูตรระดับสถานศึกษา
2.3 ร่วมวางแผน
และร่วมพัฒนาหลักสูตรระดับสถานศึกษา
2.4 ตรวจสอบความสอดคล้องสัมพันธ์กันของสาระที่จัดทำขึ้นตามสภาพปัญหา/ความต้องการของชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น
กับมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มวิชาและมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.5 วางแผนการจัดการเรียนการสอนตามขอบข่ายเนื้อหาสาระ มาตรฐาน สัดส่วนของเวลา และหน่วยการเรียนรู้
2.6 นำหลักสูตรไปปฏิบัติให้เกิดผลในห้องเรียน
โดยเลือกใช้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้และเหมาะสมกับผู้เรียน
2.7 วางแผนและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ได้ข้อมูลที่แสดงความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน
ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงนั้น
และนำผลการประเมินมาพัฒนาผู้เรียนต่อไป
2.8 ร่วมประเมินผลการใช้หลักสูตรกับสถานศึกษา
3. ผู้เรียน
เนื่องจากผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการกำหนดจุดหมายของการพัฒนาหลักสูตร
หลักสูตรทุกหลักสูตรพัฒนาขึ้นเพื่อสนองความต้องการของผู้เรียนโดยตรง
ผู้เรียนจึงควรมีส่วนแสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลที่สะท้อนความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียนให้ผู้รับผิดชอบพัฒนาหลักสูตรได้ทราบ
และเนื่องจากผู้เรียนเป็นผลผลิตของการจัดการศึกษาโดยตรง
ผู้เรียนจะมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์คือเป็นคนดี มีปัญญา และมีความสุขได้
ผู้เรียนจะต้องปรับปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ของตนจากการเป็นผู้รับมาเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง
มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ
และความสามารถของตนเอง
บทบาทหน้าที่ของผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีดังนี้
3.1 มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับผู้ปกครองและครู
วางแผนการเรียนรู้ของตนเองตามความถนัด ความสนใจและความสามารถของตนเอง
3.2 มีความรับผิดชอบ
ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และบริหารจัดการเรียนรู้ของตนเองให้มีคุณภาพ
3.3 ปฏิบัติตนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
รู้วิธีแสวงหาความรู้ พร้อมทั้งสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
3.4 มีการประเมินและพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
3.5 มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับครูและเพื่อนโดยช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน
4. ผู้ปกครอง
การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ได้เปิดโอกาสให้บิดามารดา
ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายร่วมมือกับสถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ (มาตรา 24) ฉะนั้น
บิดามารดาและผู้ปกครองจะต้องปรับเปลี่ยนความคิดในการฝากบุตรหลานไว้ในความดูแลของครูมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
โดยผู้ปกครองควรจะมีบทบาท ดังนี้
4.1 กำหนดแผนการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกับครูและผู้เรียน
4.2 มีส่วนร่วมในการกำหนดสาระของหลักสูตรสถานศึกษา
และกำหนดแผนพัฒนาสถานศึกษาหรือธรรมนูญสถานศึกษา
4.3 ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
4.4 อบรมเลี้ยงดู
เอาใจใส่ ให้ความรักความอบอุ่น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่างๆ ของผู้เรียน
4.5 สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษาตามความเหมาะสม
4.6 ร่วมมือกับครูและผู้เกี่ยวข้อง
ประสานงาน ป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้เรียน
4.7 พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
มีความรู้คู่คุณธรรม เป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อนำครอบครัวไปสู่สถาบันแห่งการเรียนรู้
4.8 มีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนและการประเมินการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
5. ชุมชน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ได้เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรและบริหารจัดการให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่กลมกลืนกับท้องถิ่น
และร่วมกับสถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยมีบทบาทดังนี้
5.1 มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาหรือธรรมนูญของสถานศึกษา
5.2 มีส่วนร่วมในการกำหนดสาระของหลักสูตรสถานศึกษา
เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
5.3 เป็นแหล่งการเรียนรู้
สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากสถานการณ์จริง
5.4 ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของสถานศึกษา
5.5 มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา
การมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาจะประสบผลสำเร็จได้ด้วยดี
จะต้องได้รับความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจากบุคลากรทุกฝ่าย
ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน
บิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลหรือหน่วยงานในชุมชน ได้แก่ องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ
มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในลักษณะต่าง ๆ หลายลักษณะ โดยถือว่าการจัดการศึกษาเป็นภาระหน้าที่สำหรับทุกคน
การมีส่วนร่วมของประชาชนหรือบุคลากรทุกฝ่ายอาจดำเนินการได้หลายทาง ได้แก่
1. การมีส่วนร่วมเป็นกรรมการ
ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาจะต้องทำความเข้าใจกับประชาชนที่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการเกี่ยวกับการศึกษา
ให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน เพราะการเป็นกรรมการไม่ใช่เรื่องของอภิสิทธิ์ส่วนตัว
แต่เป็นภาระเพื่อประโยชน์ส่วนรวม กรรมการมีหน้าที่กำกับ ดูแล
ให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู
และบุคลากรทางการศึกษาทำหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน
ดังนั้น กรรมการจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอน
การบริหารและการจัดการศึกษา ระบบการประกันคุณภาพ การจัดทำหลักสูตร
การประเมินคุณภาพการศึกษา
การระดมทรัพยากรการเงินและบุคคลเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา เป็นต้น
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเป็นกรรมการได้เข้าใจบทบาทหน้าที่อย่างจริงจัง
สถานศึกษาควรจัดทำคู่มือการเป็นกรรมการและนำเสนอผ่านสื่อ การปฐมนิเทศ
หรือการฝึกอบรมสำหรับกรรมการที่ยังขาดประสบการณ์
รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของกรรมการด้วย
2. การร่วมจัดการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 57 กำหนดให้หน่วยงานการศึกษาระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
โดยนำประสบการณ์ ความรอบรู้ ความชำนาญ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคคลมาใช้
เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาและยกย่องเชิดชูผู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา
3. การร่วมสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นจะร่วมสนับสนุนการศึกษาได้โดยร่วมกันให้ความรู้หรือประสบการณ์ในฐานะทรัพยากรบุคคลหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น
หรือสนับสนุนโดยการบริจาคทรัพย์สิน หรือทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา
รวมทั้งการมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็นด้วย
4. การร่วมกำกับดูแล
เนื่องจากการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ได้กำหนดเงื่อนไขใหม่ๆ เช่น ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องทำหน้าที่ให้เหมาะสม
สอดคล้องกับจรรยาบรรณและมาตรฐานของวิชาชีพ สถานศึกษาต้องมีระบบประกันคุณภาพ
เป็นต้น ดังนั้นประชาชนจึงควรมีส่วนร่วมเรียกร้องคุณภาพทางการศึกษาที่เป็นมาตรฐาน
ทักท้วง ตักเตือน หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับครูและบุคลากรทางการศึกษา
ร่วมประเมินคุณภาพของบุคคลและสถานศึกษา
รวมทั้งร่วมยกย่องเชิดชูเกียรติครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมด้วย
หากบุคลากรในสถานศึกษาทุกคนได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเต็มที่
และเปิดโอกาสให้บุคคลและหน่วยงานนอกสถานศึกษาได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ทั้งในฐานะกรรมการสถานศึกษา วิทยากรหรือปราชญ์ชาวบ้าน หรือในฐานะผู้ให้การสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาและฐานะผู้ประเมินคุณภาพของสถานศึกษาแล้ว
ย่อมเชื่อมั่นได้ว่าสถานศึกษานั้นจะประสบผลสำเร็จในการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาและการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น