วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2562

แบบจำลองนิวโคลล์

 à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ แบบจำลองวนิวโคลลืการพัฒนาหลักสูตร
แบบจำลองนิวโคลส์
              คณะของนิวโคลส์  ได้เขียนหนังสือชื่อ  Developlng  a Curriculum :  A  Practice  Guie²²  ได้สร้างวิธีการวงจร  ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบของหลักสูตรอย่างย่อๆ  หนังสือนี้เป็นที่นิยมของครูมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอังกฤษ  ซึ่งมีการพัฒนาหลักสูตรในระดับโรงเรียน
              แบบจำลองของนิโคลส์เน้นวิธีการเชิงเหตุผลในการพัฒนาหลักสูตร  โดยเฉาพะอย่างยิ่งความจำเป็นต่อการเปิดหลักสูตรใหม่จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยการสนับสนุนว่าควรมีการวางแผนสำหรับการเปลี่ยนแปลงและนำเข้าสู่เหตุผลและพื้นฐานที่เหมาะสมตามกระบวนการเชิงเหตุผล
              นิโคลส์  ได้แก้ไขงานของไทเลอร์  ทาบา  และวีลเลอร์  โดยเน้นวงจรธรรมชาติของกระบวนการหลักสูตร  และความจำเป็นสำหรับขั้นตอนเบื้องต้นคือ  การวิเคราะห์  สถานการณ์ (Situational analysis) และยืนยันว่า ก่อนที่จะดำเนินการเกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆ ในกระบวนการหลักสูตรต้องการพิจารราอย่างจริงจังกับรายละเอียดของบริบทหรือสถานการณ์หลักสูตร ดังนั้น การวิเคราะห์สถานการคือ ขั้นตอนเบื้องต้นซึ่งทำให้ผู้พัฒนาหลักสูตรมีความเข้าใจในปัจจัยที่มีผลกระทบต่อหลักสูตรที่กำลังสร้างอยู่
              ขั้นตอนของการขึ้นต่อกันและกันห้าขั้น  เป็นความจำเป็นในกระบวนการของหลักสูตรที่ต่อเนื่อง  มีดังนี้  คือ 
              1. การวิเคราะห์สถานการณ์ (situational analysis)
              2. การเลือกจุดประสงค์ (selection of objectives)
              3. การเลือกและการจัดเนื้อหาวิชา (selection and organization of content)
              4. การเลือกและการจัดการกับวิธีการ (selection and organization of methods)
              5. การประเมินผล (evaluation)
              ระยะของการประเมินสถานการณ์เป็นความจงใจที่จะบีบให้ผู้พัฒนาหลักสูตรในโรงเรียนมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม   และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อความต้องการจำเป็นของนักเรียน  นิโคลส์ได้สนับสนุนการวางแผนหลักสูตรที่อาศัยการวิเคราะห์ทุกด้านด้วยความรู้และความเข้าใจที่ครอบคลุมกว้างขวาง
จุดเด่นของแบบจำลองวงจร
              จุดเด่นของแบบจำลองวงจรมาจากเหตุผล  โครงสร้างของขั้นตอนการสร้างหลักสูตรเช่น  แบบจำลองที่เน้นบทบาทของความมุ่งหมายเป้าประสงค์และจุดประสงค์  ต้องการให้ผู้พัฒนาหลักสูตรมีมโนทัศน์เกี่ยวกับงานก่อนลงมือปฏิบัติ  สิ่งเหล่านี้เป็นการส่งเสริมความคิด  เชิงเหตุผลที่จะทำให้หลักสูตรมีประสิทธิภาพ
              ในการใช้การวิเคราะห์สถานการณ์เป็นจุดเริ่มต้น  แบบจำลองวงจรจะให้ข้อมูลพื้นฐานที่ทำให้การกำเนิดจุดประสงค์มีประสิทธิภาพ  และแม้ว่าวีลเลอร์จะไม่กล่าวถึงการวิเคราะห์สถานการณ์อย่างเป็นพิเศษ  แต่ก็มิได้มีการตรวจสอบแหล่งที่มาของความมุ่งหมายและเป้าประสงค์  โดยแท้จริงแล้วจุดประสงค์ไม่ได้ออกมาจากสุญญากาศ  แต่มาจากข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ (รวมทั้งสัญชาติญาณด้วย) ซึ่งได้มาจากการวิเคราะห์สถานการณ์และช่วยให้ผู้พัฒนาหลักสูตรตัดสินใจได้มีประสิทธิภาพ  วิธีการนี้จัดว่าจำเป็นถ้าครูต้องการที่จะเป็นครูที่มีประสิทธิภาพในการใช้ 
              ธรรมชาติของแบบจำลองวงจรคือ  องค์ประกอบที่หลากหลายของหลักสูตรมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง  สามารถที่จะจัดการกับสถานการณ์ใหม่ๆ  และผลของปฏิสัมพันธ์ในการเปลี่ยนแปลงกรณีแวดล้อม  แบบจำลองจะมีความยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเดียวกันก็จะเกิดขึ้นกับองค์ประกอบย่อยของแบบจำลองเช่น  ถ้าโรงเรียนเปลี่ยนแปลงทันที่ทันใดด้วยการไหลบ่าของนักเรียนกลุ่มใหญ่  ผู้ซึ่งมีความแตกต่างไปจากบรรทัดฐานแล้ว  สถานการณ์ของหลักสูตรที่มีอยู่ต้องเปลี่ยนแปลง  แบบจำลองนี้ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงได้  และความต้องการที่แท้จริงคือการทบทวนสถานการณ์ใหม่ๆ  และเปลี่ยนแปลงขั้นตอนย่อยๆ ในองค์ประกอบอื่นๆ  ของหลักสูตร  (จุดประสงค์  เนื้อหาวิชา  วิธีการและการประเมิน)
              แบบจำลองวงจรมีความยืดหยุ่นในการใช้มีความสัมพันธ์กับสถานการณ์ของโรงเรียนและเหมาะกับการพัฒนาหลักสูตรของครู  มีการกำหนดจุกประสงค์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม  มีความยืดหยุ่นในการพัฒนาแบบจำลองวงจรให้ขอบเขตที่กว้างในการพัฒนาหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียน
จุดด้อยของแบบจำลองวงจร
              จุดด้อยของแบบจำลองวงจรเป็นเรื่องที่ยากที่จะกล่าวเพราะว่าวิธีการของกระบวนการหลักสูตรแบบนี้ประสบความสำเร็จโดยผู้พัฒนาหลักสูตร  อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้สูงที่ผู้พัฒนาหลักสูตรจะเพิกเฉยต่อแบบจำลองวงจร  เพราะว่าเริ่มต้นวิธีการด้วยเหตุผล  แบบจำลองเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์  และดำเนินต่อไปจนครบองค์ประกอบของหลักสูตรด้วยความสำเร็จ  อย่างไรก็ตาม  เมื่อวงจรถูกกำหนดขึ้น  เป็นไปได้ว่าต้องกระตุ้นสำหรับการเปลี่ยนแปลงอาจจะเริ่มจากองค์ประกอบใดๆ ของหลักสูตร  เช่น  เมื่อหลักสูตรของโรงเรียนอยู่ระหว่างดำเนินการ  ความจำเป็นในการปรับปรุงวงจรอาจเริ่มด้วยการปรับปรุงเนื้อหาใหม่  วิธีการที่แตกต่างกันของการสอนและการเรียนรู้มาจากผลของการประเมิน  หรือการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เนื่องจากผู้เรียนอย่างไรก็ตามตัวกระตุ้นสำหรับการปรับปรุงได้ริเริ่มขึ้นภายในวงจร  และเป็นความจำเป็นที่จะต้องประเมินรายวิชาอื่นไปอีกในลักษณะของผลกระทบที่มีต่อองค์ประกอบย่อย
              จุดด้อยที่สองของแบบจำลองนี้อาจจะเป็น  การใช้เวลาที่มากในการวิเคราะห์สถานการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ  เพื่อที่จะประเมินสถานการณ์ให้ดี  ผู้พัฒนาหลักสูตรต้องใช้เทคนิคเป็นอย่างมากในการล้วงลึกข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้  สิ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลามาก  และบ่อยครั้งที่ครูชอบมากกว่าที่จะอาศัยประสบการณ์ของตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น