วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2562

self-test Unit 5


คำถาม: หลักสูตรแต่ละประเภทตอบสนองความจำเป็น ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะที่สำคัญอย่างไร
ตอบ:
       หลักสูตรแต่ละประเภทมีความแตกต่างและโดดเด่นในการจัดการเรียนการสอนในคนละแบบแล้วแต่บริบทของสังคมและสถานศึกษานั้น ๆ  อย่างเช่นหลักสูตรเกลียวสว่าน จะแบ่งความยากความเข้าใจในเนื้อหาเดียวกันแต่คนละวัย ในช่วงประถมเนื้อหาก็จะอยู่ในระดับหนึ่ง ชั้นมัธยมศึกษาก็จะมีความซับซ้อนของเนื้อหาขึ้น เพราะวัยแต่ละวัยมีการพัฒนาและเรียนรู้ที่แตกต่างกันไปในแต่ละระดับ

คำถาม:สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบอินเทอร์เน็ต เรื่องประเภทขอหลักสูตร และการออกแบบหลักสูตร
ตอบ
  1.หลักสูตรเนื้อหาวิชา (Subject Matter Curriculum or Subject Centered Curriculum)
ประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระสำคัญได้แก่ ความคิดรวบยอด ทักษะ กฎและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เน้นที่เนื้อหาความรู้ไม่ได้เน้นที่ผู้เรียนผู้สร้างหลักสูตรจึงได้สร้างหลักสูตรโดยคำนึงถึงความรู้และสาระสำคัญเป็นหลัก
2. หลักสูตรหมวดวิชา (Fusion or Fused Curriculum)
แยกออกเป็นรายวิชาย่อย ๆ เช่น วิชาภาษาไทยประกอบด้วยรายวิชาย่อย ๆ ได้แก่ คัดไทย เขียนไทย ย่อไทย  เรียงความ เขียนจดหมาย อ่านเอาเรื่อง ไวยากรณ์ สายวิชาอื่น ๆ ก็แยกออกเป็น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม เลขคณิต เรขาคณิต ฯลฯ การประเมินผลของการศึกษาหรือการเรียนรู้ของนักเรียนคือ การวัดความสำเร็จด้วยคะแนนความจดจำของเนื้อหาในแต่ละวิชา 
3. หลักสูตรสัมพันธ์ (Correlation or Correlated Curriculum)
เป็นหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์กันในหมวดวิชานำเนื้อหาสาระวิชาอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กันมารวมเข้าไว้ด้วยกัน การจัดให้มีการสัมพันธ์ระหว่างวิชาในระดับที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
4. หลักสูตรสหสัมพันธ์ (Broad Fields Curriculum)
หลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรเนื้อหาวิชา(ซึ่งมีหลักสูตรหมวดวิชาหลักสูตรสัมพันธ์และหลักสูตรสหสัมพันธ์)หลักสูตรสหสัมพันธ์ยังคงใช้กันอยู่เพราะมีการผสมผสานของความรู้มากกว่านอกจากนี้แล้วการจัดหมวดวิชาเป็นสหสัมพันธ์หรือหมวดวิชาแบบกว้างนี้ก็มักจะทำกันในโรงเรียนระดับประถมและระดับมัธยมต้นมากกว่าระดับมัธยมปลาย 
5. หลักสูตรแกนกลาง (Core Curriculum)
มีลักษณะคล้ายกับ หลักสูตรหมวดวิชา  หลักสูตรสัมพันธ์และหลักสูตรสหสัมพันธ์  ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผสมผสานเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงเข้าอยู่เป็นหมวดหมู่เดียวกันแต่เน้นวิธีการแก้ปัญหา 
6. หลักสูตรประสบการณ์ (Experience Curriculum)
หลักสูตรประสบการณ์เน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทและส่วนร่วมในการเลือกหากิจกรรมการเรียนที่มีประโยชน์และตรงกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตรและลักษณะการร่วมกิจกรรมนั้นต้องอยู่บนรากฐานของความถนัดและความสนใจของนักเรียน หลักสูตรประสบการณ์มีลักษณะตรงข้ามกับหลักสูตรเนื้อหาวิชาอย่างเห็นได้ชัดเพราะหลักสูตรเนื้อหาวิชายึดเนื้อหาวิชาเป็นจุดศูนย์กลางแต่หลักสูตรประสบการณ์ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 
7. หลักสูตรบูรณาการ (Integration or Integrated Curriculum)
หลักสูตรบูรณาการเป็นหลักสูตรที่รวมประสบการณ์เรียนรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันประสบการณ์ดังกล่าวเป็นประสบการณ์ที่คัดเลือกมาจากหลายสาขาวิชาแล้วจัดเป็นกลุ่มหรือหมวดหมู่ของประสบการณ์เป็นการ
บูรณาการเนื้อหาเข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์สัมพันธ์และต่อเนื่องมีคุณค่าต่อการดำรงชีวิต
การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design)
          การออกแบบหลักสูตรอาศัยแนวคิดจากคำถามข้อที่ 2 ของไทเลอร์ คือ การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ (Tyler, 1969)
          การออกแบบหลักสูตร คือ การตัดสินใจเกี่ยวกับรูปร่างหรือการจัดเค้าโครงในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร การออกแบบหลักสูตรจะเกี่ยวข้องกับการกำหนดจุดมุ่งหมายและจุดประสงค์ของหลักสูตร อันจะนำไปสู่การจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระ ช่วยให้ครูเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เหมาะสมซึ่งจะเกี่ยวข้องกับภาระงาน  4 เรื่อง คือ จุดประสงค์  เนื้อหาสาระ ประสบการณ์การเรียนรู้การสอน และการประเมิน การออกแบบหลักสูตรที่แตกต่างกันให้คุณภาพที่หลากหลายทั้งความรู้และประสบการณ์ การออกแบบหลักสูตรต้องพิจารณาเรื่องเศรษฐกิจเป็นอันดับแรกและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของการจัดการสอน การจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระและงานที่มอบหมาย เรื่องของเวลาและการจัดสรรทรัพยากร จะต้องตอบให้ได้ว่าผู้เรียนจะเรียนอะไร จะจัดโครงสร้างที่เรียนอย่างไร หลักสูตรจะแสดงในรูปแบบใดและจะจัดโครงสร้างอย่างไร ผู้ออกแบบหลักสูตรต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้
          หลักสูตรโดยทั่วไปถูกออกแบบตามสาขาวิชา (Discipline)เช่น วิศวกรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์  วิทยาศาสตร์ หรือออกแบบตามขอบข่ายเนื้อหาสาระ (Field) เช่น ศิลปะ  หน้าที่พลเมือง  สังคมศึกษา หรือออกแบบเป็นหน่วย (Unit) เช่น หน่วยดนตรีแจ๊ส หน่วยสื่อสารมวลชน หรือออกแบบตามศูนย์กลางการจัดระเบียบ (Organizing Centers) เช่น กระบวนการ โครงการ ภาระงาน  หรือออกแบบตามการติดตามความสนใจ (Personal Persuits) เช่น ชมรมแอร์โรบิก  ชมรมประกอบอาหาร
          ออร์นสไตน์และฮันกิน (Ornstein and Hunkins, 1998) ได้สรุปการจัดกลุ่มแนวคิดการออกแบบหลักสูตรไว้ 3 กลุ่ม ได้แก่
1. การออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา (Subject-centered Design) ซึ่งอาศัยแนวคิดปรัชญา
การศึกษาที่สำคัญ คือสารัตถะนิยมและนิรัตรนิยมเป็นหลัก ได้แก่ หลักสูตรแบบรายวิชา (Subject Design)หลักสูตรแบบสาขาวิชา(Discipline Design) หลักสูตรแบบหมวดวิชา (Broad Fields Design) หลักสูตรสัมพันธ์วิชา (Correlation Design) และ หลักสูตรเน้นกระบวนการ (Process Design)
2.การออกแบบหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-centered Design) เป็นหลักสูตรที่มอง
ประโยชน์ของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน ได้แก่  หลักสูตรเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (Child-centered Design) หลักสูตรเน้นประสบการณ์ (Experience-centered Design)  หลักสูตรแบบจิตนิยม (Romantic/ Radical Design) และ หลักสูตรมนุษยนิยม (Humanistic Design)
3.การออกแบบหลักสูตรที่เน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ(Problem-centered Design) เป็นหลักสูตร
ที่มุ่งเน้นภาระหน้าที่ ชีวิตภายในสังคม สถานการณ์ในสังคม  เน้นสภาพของสังคม ปัญหาสังคมเป็นหลัก ได้แก่ หลักสูตรเน้นสถานการณ์ของชีวิต (Life-situation Design) หลักสูตรแกนกลาง(Core Design) และหลักสูตรเน้นปัญหาและปฏิรูปสังคม (Social Problems and Reconstructionist Design)

การออกแบบหลักสูตรตามแนวคิดของปริ้นส์  ลาลวานี(Princess Lalwani, 2012)
1.  การออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาสาระเป็นสำคัญ(Subject-centered Curriculum Design)
 มุ่งเน้นเนื้อหาสาระเป็นฐาน ให้ความสำคัญกับการจัดการในเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องทั้งกระบวนการ กลยุทธ์และทักษะชีวิต เช่น การแก้ปัญหา  การตัดสินใจหรือทีมงาน
2. การออกแบบหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ(Learner-centered Curriculum Design) มี
สาระสำคัญอยู่ที่ความคาดหวังเกี่ยวกับผู้เรียนที่จะได้สำรวจความต้องการในชีวิตของตนเอง ครอบครัว หรือสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ผู้เรียนจะไม่ถูกกำหนดให้เป็นผู้กระทำ แต่จะได้รับการสนับสนุนให้เรียนรู้โดยการมีปฎิสัมพันธ์กับผู้สอนและสิ่งแวดล้อม การให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้เรียน ได้เรียนรู้แบบเปิดและเป็นอิสระ โดยเลือกกิจกรรมจากครูจัดให้หลากหลาย
3. การออกแบบหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ของผู้เรียน (Learner-centered
 Curriculum Humanistic Design) การเรียนรู้ในอุดมคติของของมนุษย์เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึกและการกระทำ แนวคิดในการพัฒนาตนเองในทางบวก (Positive self-concept) และทักษะระหว่างบุคคล (Interpersonal skills)
4.การออกแบบหลักสูตรแบบปัญหาเป็นฐาน (Problem-centered Curriculum Design)  เป็น
การสนับสนุนชีวิตจริงของผู้เรียน เพราะต้องเสาะแสวงหาความรู้และแก้ปัญหา ปัญหาต่าง ๆเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในชีวิตจริง โดยการฝึกการแก้ปัญหาในโรงเรียนด้วยการเลือกประเด็นปัญหาในเชิงปรัชญาหรือเชิงจริยธรรมในแต่ละท้องถิ่น
5.การออกแบบหลักสูตรตามกระบวนการการพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development
Models Design) มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้ หลักสูตรแบบนี้ให้ความสำคัญกับจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร เป็นการออกแบบโดยกลุ่มนักวางแผนการศึกษา มีการตัดสินใจที่มาจากฝ่ายการเมืองและกลุ่มตัวแทนสังคมต่าง ๆ แนวคิดการออกแบบหลักสูตรมีดังนี้
5.1   การออกแบบหลักสูตรกลุ่ม (Deductive Models) ให้ความสำคัญกับการกำหนดจุดมุ่งหมายของ
การศึกษาและการระบุวัตถุประสงค์เฉพาะที่แสดงความสำเร็จ ไทเลอร์กล่าวว่าการออกแบบหลักสูตรด้วยธรรมชาติและโครงสร้างความรู้ต้องมุ่งตอบสนองความต้องการจำเป็นของผู้เรียน
5.2   การออกแบบหลักสูตรกลุ่ม (Inductive Models)เป็นการออกแบบตามแนวคิดของทาบาซึ่งเชื่อ
ว่าผู้สอนจะต้องเป็นผู้เริ่มต้นกระบวนการด้วยการสร้างหน่วยการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนในโรงเรียนด้วยตนเอง

หลักการออกแบบหลักสูตรของมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ(Griffith University)
          สถาบันการศึกษาควรจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้สัมพันธ์กับกิจกรรมการสอนซึ่งจะมีผลการเรียนรู้ทางบวก ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะ ความรู้ เจตคติและพฤติกรรม มีหลักการดังต่อไปนี้
          1.สร้างประสบการณ์ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม มีแรงจูงใจและมีแรงกระตุ้นทางปัญญา
          2. ส่งเสริมการสืบค้นและตั้งคำถามอย่างมีวิจารณญาณและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
          3. เน้นการเชื่อมโยง การบูรณาการทฤษฎีและองค์ความรู้ด้วยการปฏิบัติอย่างมืออาชีพเพื่อนำไปแก้ปัญหาในชีวิตจริง
          4. ให้ประสบการณ์ที่พัฒนาความสามารถระหว่างวัฒนธรรม สังคมของนักเรียนที่แตกต่างและการตอบสนองทางจริยธรรมของสังคมโลก
          5. ให้ความสำคัญกับคุณค่า ความทรงจำและวัฒนธรรมที่หลากหลายของบุคคล
          6. เพิ่มการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
          7. การปรับปรุงการสอนอย่างต่อเนื่อง

การออกแบบหลักสูตรของสก็อตแลนด์
          หลักการพื้นฐาน 7 ประการ ซึ่งต้องคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนและการพัฒนาการของแต่ละคน
1.กระตุ้นความท้าทายและความพอใจ (Challenge and enjoyment)โดยผู้เรียนจะได้รับ
ประสบการณ์ที่หลากหลายอย่างเหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ได้พัฒนาและแสดงความคิดสร้างสรรค์
2.ขยายขอบเขตความรู้ (Breadth) ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ในการเรียนรู้อย่างกว้างขวางและ
เหมาะสมภายใต้บริบททั้งภายในชั้นเรียนและบรรยากาศของโรงเรียน
3.ความก้าวหน้า (Progression) ผู้เรียนจะมีอัตราความก้าวหน้าที่เป็นไปตามความต้องการและ
ความถนัด
4.ความคิดลึกซึ้ง (Depth) ให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถตามความแตกต่างและการคิดของแต่ละ
คน
5.บุคลิกภาพและทางเลือก (Personalisation and choice)หลักสูตรต้องตอบสนองความต้องการ
จำเป็นของบุคคล โดยเฉพาะและความเป็นเลิศของผู้เรียน
6.การเชื่อมโยง (Coherence) กิจกรรมการเรียนรู้จะต้องเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของผู้เรียน
7.ความสัมพันธ์ (Relevance) ผู้เรียนต้องเข้าใจจุดมุ่งหมายของกิจกรรม โดยเห็นคุณค่าในการ
เรียนรู้และความสัมพันธ์กับชีวิตของผู้เรียนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

การออกแบบหลักสูตรรายวิชา
          เวสมินส์เตอร์ เอ็กเชงจ์ มหาวิทยาลัยเวสมินส์เตอร์ให้ข้อเสนอแนะในการออกแบบหลักสูตรรายวิชาโดการตอบคำถามต่อไปนี้
1.       ผู้ออกแบบคาดหวังว่าอะไรที่จะช่วยให้หลักสูตรนี้ประสบความสำเร็จ
2.       สถาบันการศึกษาหรือสิ่งแวดล้อมภายนอกอะไรบ้างที่มีอิทธิพลต่อหลักสูตรรายวิชา
3.       การประกันคุณภาพมีความสัมพันธ์กับหลักสูตรอย่างไร
4.       อะไรเป็นแบบจำลองที่ตรงกับความประสงค์ในการออกแบบหลักสูตร
5.       อะไรเป็นจุดหมายและผลการเรียนรู้ของหลักสูตร
6.       ประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างไร
7.       อะไรเป็นกลยุทธ์ในการเรียนรู้ การสอนและการประเมิน
8.       จะต้องปรับพื้นฐานความรู้ก่อนที่จะเรียนรายวิชาหรือไม่
9.       จะส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไร จะวางแผนการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรอย่างไร
10.   หลักสูตรจะพัฒนาผู้เรียนที่มีความหลากหลายหรือไม่
การออกแบบหลักสูตร : การเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้
          ออร์นสไตน์และฮันกิน (1998) กล่าวว่าการออกแบบหลักสูตรมีสิ่งที่เกี่ยวข้อง 4 องค์ประกอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ ประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้
ฮาเด็น (Harden, 1986) ได้นำแนวคิดว่า ผลการเรียนรู้เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญในการวางแผนหลักสูตร แนวคิดนี้ยังปรากฏในงานของบลูม (1956) ซึ่งเขาได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษาเป็น 3   ปริเขต ได้แก่ ปริเขตพุทธพิสัย (Cognitive Domain) เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับความรู้  ปริเขตจิตพิสัย(Affective Domain) เป็นวัตถุประสงค์เกี่ยวกับทัศนคติ และปริเขตทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับทักษะเคลื่อนไหว
ปริเขตพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)  อนันต์ ศรีโสภา(2520) สรุปไว้ว่าตามแนวคิดของบลูมและคณะ จุดมุ่งหมายด้านนี้จำแนกออกเป็นพฤติกรรมย่อย ๆ 6 ชั้นซึ่งเรียงจากง่ายไปยากดังนี้
1.ความรู้ (Knowledge) ซึ่งแบ่งเป็น ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาโดยเฉพาะ  ความรู้เกี่ยวกับวิธีและการดำเนินงานที่เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะหรือความรู้ที่เกี่ยวกับการรวบรวมแนวคิดและโครงสร้างของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
2. ความเข้าใจ (Comprehension) ได้แก การแปลความ การตีความ การขยายความ
3. การนำไปใช้ (Application) นำสาระสำคัญต่าง ๆไปใช้ในสถานการณ์จริง
4.การวิเคราะห์ (Analysis) คือการแยกเรื่องราวเป็นส่วนย่อย ๆ
5.การสังเคราะห์ (Synthesis) การรวมส่วนประกอบต่าง ๆเข้าด้วยกัน
6.การประเมินค่า (Evaluation) การตัดสินคุณค่า การประเมินค่าโดยอาศัยข้อเท็จจริงภายในและภายนอกมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
บลูมและคณะได้แบ่งความคิดออกเป็นระดับต่ำและระดับสูง ดังนี้
ความคิดระดับต่ำ 3 ระดับ ได้แก่
ระดับ 1 : ความรู้ (ระลึกและสามารถเรียกข้อมูลกลับ)
ระดับ 2 : ความเข้าใจ (แปลความหมายและการแสดงออกว่ามีความเข้าใจ)
ระดับ 3 : การนำไปใช้ (การประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์ใหม่)
ความคิดระดับสูง 3 ระดับ ได้แก่
ระดับ 1 : การวิเคราะห์ (ระบุความสัมพันธ์และเหตุจูงใจ)
ระดับ 2 : การสังเคราะห์ (เชื่อมโยงข้อเท็จจริงด้วยเหตุผลหรือในรูปแบบใหม่)
ระดับ 3 : การประเมิน (ใช้เกณฑ์และสถานการณ์เพื่อวินิจฉัยและการตัดสินผล)
ปริเขตจิตพิสัย (Affective Domain)  บลูมและแครทโฮล แบ่งจิตพิสัยเป็นลำดับดังนี้
1.       การรับรู้ (Receiving or attending) การยอมรับหรือเอาใจใส่ต่อสิ่งเร้า เช่น ความตั้งใจเรียน การ
ฟังอย่างตั้งใจ  การรับรู้จำแนกเป็นพฤติกรรมย่อย ได้แก่ การรู้ตัว (ไม่อยู่ในสภาพใจลอย)  การเต็มใจ (ไม่หลีกเลี่ยง) และการควบคุมหรือคัดเลือกการรับรู้ (การควบคุมสมาธิ การติดตามสังเกต)
2.       การตอบสนอง (Responding) การแสดงออกด้วยความสนใจ ความเต็มใจในสิ่งเร้า เต็มใจที่จะมี
ส่วนร่วม เช่น เต็มใจอ่านหนังสือหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ การตอบสนองจำแนกเป็นพฤติกรรมย่อย ๆ ได้แก่ การยอมทำตาม  การตอสนองด้วยความยินดี  และการตอบสนองที่มีความพึงพอใจ
3.       ค่านิยม (Valuing) ความรู้สึกหรือความสำนึกจนกลายเป็นความเชื่อและทัศนคติ ค่านิยมจำแนก
เป็นพฤติกรรมย่อย ๆ ได้แก่ การยอมรับในค่านิยม  ความรู้สึกชื่นชอบในค่านิยมนั้น   การยึดมั่นในค่านิยมนั้น
4.       การจัดระบบ (Organization) ค่านิยมหรือคุณค่า เน้นคุณค่าทางจิตใจโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์
และโครงสร้างของค่านิยม เป็นระดับพฤติกรรมด้านจิตใจที่สูงขึ้น  จำแนกเป็น 2 ข้อย่อย ได้แก่ การสร้างมโนทัศน์ของคุณค่า  คือ การมีความรู้เกี่ยวกับค่านิยม การมองเห็นความสัมพันธ์ของคุณค่ากับสิ่งที่ตนเองยึดถือ  และ การจัดระบบคุณค่า คือการนำเอาคุณค่ามาจัดเป็นระบบ
5.       การสร้างลักษณะนิสัย (Characterization by a value or value complex) เมื่อแต่ละคน
ค่านิยมใดแล้วก็จะควบคุม ให้บุคคลนั้นแสดงออกเป็นพฤติกรรม จำแนกย่อย ๆ ได้แก่การมีหลักยึดในการตัดสินใจหรือพิจารณาสิ่งต่าง ๆ และการแสดงลักษณะนิสัยที่เป็นไปโดยสมบูรณ์
การออกแบบหลักสูตรด้วยแนวคิดวัตถุประสงค์เป็นฐาน(Objective-Based Approach)
ข้อดี
1.       วัตถุประสงค์ที่เขียนดีและมีรายละเอียดผลการเรียนรู้จะช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนเห็นภาพ
พฤติกรรมที่คาดหวังชัดเจนเมื่อเรียนจบซึ่งจะช่วยในการจัดทิศทางและเกิดเสถียรภาพในรายวิชา
2.       ผลการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องชัดเจนหรือการพรรณนาความสามารถช่วยในการปรับวิธีสอนให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3.       ผู้สอนเป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์ ต้องเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการประเมินเพราะผู้สอนทราบ
ดีว่าควรประเมินพฤติกรรมใด พฤติกรรมที่แตกต่างกันต้องใช้การประเมินที่แตกต่างกัน
4.       การเขียนรายงานผลการเรียนรู้หรือการพรรณนาความสามารถมีประโยชน์ที่สุดในการพัฒนา
แบบฝึกหัดได้อย่างถูกต้อง
          ข้อจำกัด
1.       วัตถุประสงค์อาจให้สถานภาพ (Status) มากกว่าที่เป็น ไม่ควรทำราวกับจุดประสงค์เป็นสิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์ (Sacrosanct) แต่มันเป็นการพิจารณาคุณค่าบางส่วนของผู้เรียนคนหนึ่งเท่านั้น
2.       การสอนและการเรียนรู้อาจถูกกำหนดมากเกินไปจนทำให้ความคิดริเริ่มชะงัก
3.       ผลการเรียนรู้และการพรรณนาความสามารถยากและใช้เวลา ผู้สอนหลายคนอาจรู้สึกไม่ค่อยมี
เวลาเขียนวัตถุประสงค์หรือผลการเรียนรู้ที่ดี
4.       การพัฒนารายวิชาหรือหลักสูตรเป็นกระบวนการวัฎจักรต่อเนื่อง ทั้งวัตถุประสงค์และผลการ
เรียนรู้ควรมีการทบทวนบ่อย ๆ หากไม่ได้สะท้อนการตีความที่ถูกต้องของการเน้นและทิศทางของรายวิชาก็ควรเปลี่ยนวัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้นั้น
          ปริเขตทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)  คิบเลอร์ได้จัดลำดับทักษะพิสัยดังต่อไปนี้
1.       ระดับการเลียนแบบ  เช่น การคัดลายมือตามตัวอย่าง
2.       ระดับการลงมือทำตาม เช่น การเขียนแบบ การวาดรูป
3.       ระดับความแม่นยำ เช่น การฝึกพิมพ์ดีดให้เร็วและถูกต้อง
4.       ระดับความต่อเนื่อง เช่น การขับรถยนต์
5.       ระดับการกระทำจนเคยชิน เช่น การซ่อมมอเตอร์ไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
โดยสรุป ประเภทของวัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้มี  5 ประเด็น ดังนี้
1.       ความคิดระดับต่ำ (ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ)
2.       ความคิดระดับสูง (การประยุกต์  การวิเคราะห์  การสังเคราะห์ และการประเมิน)
3.       จิตพิสัย (การรวมวัตถุประสงค์ทั้งหมดและผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ทัศนคติและ
คุณค่า)
4.       ทักษะ (การรวมวัตถุประสงค์ทั้งหมดและผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับทักษะ ความคล่องแคล่ว
ในการทำงานด้วยตนเอง การประสานงานของมือและตา ความสามารถในการฝึก)
5.       ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ครอบคลุมทักษะชีวิตที่หลากหลายที่ไม่มีใน 3 ปริเขตตามแนวคิด
ของบลูม รวมทั้งวัตถุประสงค์ทั้งหมดและผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร(การเขียนและการพูด) การฟัง การทำงานเป็นทีม การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การแสดงภาวะผู้นำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น