ความหมายของหลักสูตรเพิ่มเติม
หลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญของการจัดการศึกษา เพราะเป็นสิ่งที่กำหนดแนวทางการปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ หลักสูตรที่ดีต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอ เพื่อให้มีเนื้อหาสาระทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการเมือง ซึ่งมีนักการศึกษาได้อธิบาย และให้ความหมายการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
1. ความหมายของหลักสูตร
นักการศึกษา ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับทัศนะ ความเชื่อ แนวคิด ปรัชญาและประสบการณ์ ซึ่งสามารถประมวลความหมายของหลักสูตรที่สำคัญได้ ดังนี้
เซยเลอร์ อเล็กซานเดอร์ และเลวิส (Sayler, Alexander and Lewis. 1981 : 8) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร หมายถึง แผนการเรียนการสอนที่จัดโอกาสในการเรียนรู้ให้แก่บุคคลที่ได้รับการศึกษา
บีน และคนอื่นๆ (Beane & others. 1986 : 34 - 35) สรุปความหมายของหลักสูตรไว้โดยใช้เกณฑ์ความเป็นรูปธรรม (Concrete) ไปสู่นามธรรม (Abstract) และจากการยึดโรงเรียนเป็นศูนย์กลาง (School - centered) ไปสู่การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner - centered) โดยได้อธิบายไว้ ดังนี้
1. หลักสูตร คือ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกระบวนการจัดการศึกษา (Curriculum as product)
2. หลักสูตร คือ โครงการหรือแผนการในการจัดการศึกษา (Curriculum as program)
3. หลักสูตร คือ การเรียนรู้ที่กำหนดไว้อย่างมีความหมาย (Curriculum as intended learning)
4. หลักสูตร คือ ประสบการณ์ของผู้เรียน (Curriculum as experience of the learner)
โอลิวา (Oliva. 1992 : 8 – 9) ได้ให้นิยามความหมายของหลักสูตร โดยแบ่งเป็น
1. การให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์ (Purpose) หลักสูตร จึงมีภาระหน้าที่ที่จะทำให้ผู้เรียนควรจะเป็นอย่างไรหรือมีลักษณะอย่างไร หลักสูตรแนวคิดนี้จึงมีความหมายในลักษณะที่เป็นวิธีการ ที่นำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย เช่น หลักสูตร คือ การถ่ายทอด มรดกทางวัฒนธรรม หลักสูตร คือ การพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน เป็นต้น
2. การให้นิยามโดยยึดบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Contexts) นิยามหลักสูตรในลักษณะนี้ เป็นการอธิบายถึงลักษณะทั่วไปของหลักสูตร ซึ่งแล้วแต่ว่าเนื้อหาสาระของหลักสูตรมีลักษณะเป็นอย่างไร เช่น หลักสูตรที่ยึดเนื้อหาวิชา หลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหลักสูตรเพื่อการปฏิรูปสังคม เป็นต้น
3. การให้นิยามโดยยึดวิธีดำเนินการหรือยุทธศาสตร์ (Strategies) เป็นการให้นิยามหลักสูตร ในเชิงวิธีดำเนินการที่เป็นกระบวนการ ยุทธศาสตร์หรือเทคนิควิธีการที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เช่น หลักสูตร คือ กระบวนการแก้ปัญหา หลักสูตร คือ การทำงานกลุ่ม หลักสูตร คือ การเรียนรู้รายบุคคล หลักสูตร คือ โครงการหรือแผนการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น
โอลิวา ได้สรุปความหมายของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร คือ แผนงานหรือโครงการที่จัดประสบการณ์ทั้งหมดให้แก่ผู้เรียนโดยแผนงานต่างๆ จะถูกกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร มีขอบเขตกว้างขวาง หลากหลาย เพื่อเป็นแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต้องการ ดังนั้น หลักสูตรอาจเป็นหน่วย (Unit) เป็นรายวิชา (Course) หรือเป็นรายวิชาย่อย (Sequence of courses) ทั้งนี้ แผนงานหรือโครงการทางการศึกษาดังกล่าว อาจจัดขึ้นได้ทั้งในและนอกชั้นเรียน ภายใต้การบริหารและดำเนินงานของสถานศึกษา
โซเวลล์ (Sowell. 1996 : 5) ได้กล่าวว่า มีผู้อธิบายความหมายของหลักสูตรไว้อย่างมากมาย เช่น หลักสูตรเป็นการสะสมความรู้ดั้งเดิม เป็นวิธีการคิด เป็นประสบการณ์ที่ถูกกำหนดไว้ เป็นแผนการจัดสภาพการเรียนรู้ เป็นความรู้และคุณลักษณะของผู้เรียน เป็นเนื้อหาและกระบวนการ เป็นแผนการเรียนการสอน เป็นจุดหมายปลายทางและผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนและเป็นผลผลิตของระบบเทคโนโลยี เป็นต้น โซเวลล์ ได้อธิบายว่า เป็นเรื่องปกติที่นิยามความหมายของหลักสูตรมีความแตกต่างกันไปเพราะบางคนให้ความหมายของหลักสูตรในระดับที่แตกต่างกันหรือไม่ได้แยกหลักสูตรกับการจัดการเรียนการสอน แต่อย่างไรก็ตาม โซเวลล์ ได้สรุปว่า หลักสูตร คือ การสอนอะไรให้กับผู้เรียน ซึ่งมีความหมายที่กว้างขวาง ที่รวมทั้งข้อมูลข่าวสาร ทักษะ และ ทัศนคติ ทั้งที่ได้กำหนดไว้และไม่ได้กำหนดไว้ให้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษา
ชมพันธุ์ กุญชร ณ อยุธยา (2540 : 3 – 5) ได้อธิบายความหมายของ หลักสูตรว่า มีความแตกต่างกันไปตั้งแต่ความหมายที่แคบสุดจนถึงกว้างสุด ซึ่งสามารถจำแนกความคิดเห็นของนักการศึกษาที่ได้ให้นิยามความหมายของหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
1. หลักสูตร หมายถึง แผนประสบการณ์การเรียน นักการศึกษาที่มีความคิดเห็นว่า หลักสูตร หมายถึง แผนประสบการณ์การเรียนนั้น มองหลักสูตรที่เป็นเอกสารหรือโครงการของการศึกษาที่สถาบันการศึกษาไว้วางแผนไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาตามแผนหรือโครงการที่กำหนดไว้ หลักสูตรตามความหมายนี้ หมายรวมถึง แผนการเรียนหรือรายวิชาต่างๆ ที่กำหนดให้เรียนรวมทั้งเนื้อหาวิชาของรายวิชาต่างๆ กิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผล ซึ่งได้กำหนดไว้ในแผนความคิดเห็นของนักการศึกษากลุ่มนี้ ไม่รวมถึงการนำหลักสูตรไปใช้หรือการเรียนการสอนที่ปฏิบัติจริง
2. หลักสูตร หมายถึง ประสบการณ์การเรียนของผู้เรียน ที่สถาบันการศึกษาจัดให้แก่ผู้เรียนประกอบด้วย จุดมุ่งหมาย เนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การประเมินผล
รุจิร์ ภู่สาระ (2545 : 1) ได้อธิบายความหมายของหลักสูตรว่า หมายถึง แผนการเรียน ประกอบด้วยเป้าหมาย และจุดประสงค์เฉพาะที่จะนำเสนอและจัดการเนื้อหา รวมถึงแบบของการเรียนการสอนตามจุดประสงค์ และท้ายที่สุดจะต้องมีการประเมินผลของการเรียน
นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า "หลักสูตร" ด้วยอักษรย่อ SOPEA ซึ่งหมายถึง
- S (Curriculum as Subjects and Subject Matter)
หลักสูตร คือ รายวิชาหรือเนื้อหาวิชาที่เรียน
- O (Curriculum as Objectives)
หลักสูตร คือ จุดหมายที่ผู้เรียนพึงบรรลุ
- P (Curriculum as Plans)
หลักสูตร คือ แผนสำหรับจัดโอกาสการเรียนรู้หรือประสบการณ์แก่นักเรียน
- E (Curriculum as Learners, Experiences)
หลักสูตร คือ ประสบการณ์ทั้งปวงของผู้เรียนที่จัดโดยโรงเรียน
- A (Curriculum as Educational Activities)
หลักสูตร คือ กิจกรรมทางการศึกษาที่จัดให้กับนักเรียน
หลักสูตรในความหมายเดิม จะหมายถึง รายวิชาต่าง ๆ ที่นักเรียนจะต้องเรียนส่วนความหมายใหม่ จะหมายถึง มวลประสบการณ์ทั้งหมดที่นักเรียนจะได้ภายใต้คำแนะนำ และความรับผิดชอบของโรงเรียน
หากจะสรุปความหมายของหลักสูตรจากนักการศึกษาหลายท่านพอจะสรุปได้ดังนี้
1. หลักสูตรในฐานะที่เป็นวิชาเนื้อหาสาระที่จัดให้แก่ผู้เรียน
2. หลักสูตรในฐานะที่เป็นเอกสารหลักสูตร
3. หลักสูตรในฐานะที่เป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะให้แก่นักเรียน
4. หลักสูตรในฐานะแผนสำหรับจัดโอกาสการเรียนรู้หรือประสบการณ์ที่คาดหวังแก่นักเรียน
5. หลักสูตรในฐานะที่มวลประสบการณ์
6. หลักสูตรในฐานะที่เป็นจุดหมายปลายทาง
7. หลักสูตรในฐานะที่เป็นระบบการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
นอกจากนั้นยังมีคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับหลักสูตรอีก เป็นต้นว่า
1. โปรแกรมการเรียน (A Program of Studies) คำนี้ใช้แทนความหมายของหลักสูตร ซึ่งคนทั่ว ๆไปใช้ คล้ายกับรายการเรียงลำดับรายวิชา ปัจจุบันยังมีการใช้คำนี้ในการ จัดการศึกษาอุดมศึกษาโดยการจัดลำดับรายวิชา
2. เอกสารการเรียน (A Docment) เป็นการให้ความหมายของหลักสูตร ตามจุดมุ่งหมายที่ จะให้ศึกษา เพื่อเสนอต่อผู้มาติดต่อที่สถานศึกษา
3. แผนการจัดกิจกรรม (Planned Experiences) หมายถึง กิจกรรมทั้งมวลที่โรงเรียน จัดให้นักเรียนและการวางแผนหลักสูตรเป็นการเตรียมการให้โอกาสกับผู้เรียน
4. หลักสูตรแฝง (Hidden Curriculum) หมายถึง หลักสูตรที่ไม่ได้มีการกำหนดไว้ล่วงหน้า
หลักสูตรถือว่ามีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาทุกระดับ หลักสูตรระบุสิ่งที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนและแนวทางจัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ หลักสูตรเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวในการสร้างบ้าน ส่วนการสอนเป็นกระบวนการหรือวิธีการ หลักสูตรจะระบุสิ่งที่จะสอนในโรงเรียนระบุสิ่งที่ผู้เรียนควรจะเรียนรู้ (เนื้อหา)
จากแนวคิดของนักการศึกษาหลายท่านดังกล่าวพบว่า มีการให้นิยามแตกต่างกันไป ทั้งนี้เพราะแต่ละคนมีเกณฑ์ที่ใช้ในการอธิบายแตกต่างกัน ในการศึกษาครั้งนี้ สรุปได้ว่า หลักสูตร หมายถึง แนวการจัดประสบการณ์ และ/หรือ เอกสาร ที่มีการจัดทำเป็นแผนการจัดสภาพการเรียนรู้หรือโครงการจัดการศึกษา โดยมีการกำหนดวิธีการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้ตามจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายตามที่หลักสูตรกำหนดไว้
2. ความสำคัญของหลักสูตร
ความสำคัญของหลักสูตรที่มีต่อการจัดการศึกษานั้น นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าว
ตรงกันว่า หลักสูตรมีความสำคัญต่อการจัดการศึกษา ทั้งนี้ ธำรง บัวศรี (2532 : 6 - 7) ได้กล่าวว่า หลักสูตรมีความสำคัญ เพราะหลักสูตรเป็นส่วนกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยมีรายละเอียดที่บ่งชี้ว่า ผู้เรียนควรเรียนรู้อะไร มีเนื้อหาสาระมากน้อยเพียงไร ควรได้รับการฝึกฝนให้มีทักษะในด้านใด และควรมีพัฒนาการทั้งในส่วนของร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างไร
นอกจากนี้ สุมิตร คุณานุกร (2536 : 199 -200) กล่าวถึง ความสำคัญของหลักสูตรว่าหลักสูตรมีความสำคัญ เพราะเป็นเครื่องชี้นำทางหรือเป็นบทบัญญัติของรัฐในการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษานำไปปฏิบัติ อีกทั้งยังเป็นเกณฑ์มาตรฐานทางการศึกษา และควบคุมการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา
นอกจากนี้ ปฎล นันทวงศ์ และไพโรจน์ ด้วงวิเศษ (2543 : 9) สรุปความสำคัญของหลักสูตรว่า หลักสูตรมีความสำคัญยิ่งในฐานะที่เป็นเอกสารที่กำหนดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาทุกฝ่ายต้องยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ เพื่อพัฒนาบุคคลให้มีประสิทธิภาพตามที่พึงประสงค์ให้แก่สังคมและประเทศชาติ
จากความสำคัญของหลักสูตรข้างต้น สรุปว่า หลักสูตรมีความสำคัญ เพราะหลักสูตรเป็นเอกสารซึ่งเป็นแผนการหรือโครงการจัดการศึกษาที่ระบุแนวทางการจัดมวลประสบการณ์ เป็นส่วนกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษานำไปปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพทางการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาที่หลักสูตรกำหนดไว้
3. องค์ประกอบของหลักสูตร
ในการพัฒนาหลักสูตรต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบของหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่มีความสอดคล้อง และมีความสัมพันธ์กัน โดย เคอร์ (Kerr. 1976 : 16 - 17) ได้นำเสนอองค์ประกอบของหลักสูตรไว้ 4 ส่วน ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 2) เนื้อหาสาระ 3) ประสบการณ์การเรียน และ 4) การประเมินผล ซึ่งสอดคล้องกับ ทาบา (Taba. 1962 : 10) ที่ได้เสนอองค์ประกอบของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตรไม่ว่าจะสร้างขึ้นในลักษณะใด ย่อมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ 1) จุดมุ่งหมาย 2) เนื้อหาสาระ 3) กิจกรรมและรูปแบบการเรียนการสอน และ 4) การประเมินผล
จากการศึกษาองค์ประกอบของหลักสูตร ตามที่นักการศึกษาได้กำหนดไว้ สรุปได้ว่า นักการศึกษาได้นำเสนอองค์ประกอบของหลักสูตรไว้มีความสอดคล้องกัน โดยองค์ประกอบของหลักสูตรที่สำคัญมี 4 ส่วน คือ
1) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2) เนื้อหาสาระ
3)กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) การประเมินผล
4. แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร
นักการศึกษาหลายท่าน ได้อธิบายความหมายของการพัฒนาหลักสูตร ไว้คล้ายคลึงกัน
ซึ่งสรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตรมีความหมายใน 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 1 เป็นการทำหลักสูตร ที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น และลักษณะที่ 2 เป็นการจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน (Sowell. 1996 : 16)
จากความหมายดังกล่าว พบว่า การพัฒนาหลักสูตรนั้น มีความหมายที่ครอบคลุมในหลายมิติตั้งแต่ การวางแผนหลักสูตร จัดทำหลักสูตรหรือยกร่างหลักสูตร (Curriculum planning) การนำหลักสูตรไปใช้หรือการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ (Curriculum implementation)และการประเมินผลหลักสูตร (Curriculum evaluation) การพัฒนาหลักสูตรให้ดีและมีคุณภาพนั้น ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในแต่ละมิติว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ รายละเอียดของมิติในการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้
การวางแผนจัดทำหลักสูตรหรือยกร่างหลักสูตร ประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูล
พื้นฐาน การกำหนดจุดมุ่งหมาย การกำหนดเนื้อหาสาระและประสบการณ์การเรียนรู้ การกำหนดการวัดและประเมินผล การนำหลักสูตรไปใช้หรือการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย การจัด ทำรายละเอียดของหลักสูตร เพื่อให้ผู้ใช้หลักสูตรสามารถใช้หลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ การผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอน การเตรียมบุคลากร การบริหารหลักสูตรและการสอนตามหลักสูตร การประเมินผลหลักสูตร ประกอบด้วย การประเมินเอกสารหลักสูตร การประเมินการใช้หลักสูตร การประเมินสัมฤทธิผลของหลักสูตร และการประเมินหลักสูตรทั้งระบบ โอลีวา (Oliva. 1992 : 14 – 15)
จากแนวคิดของนักการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร พบว่า การพัฒนาหลักสูตรเป็นการทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นหรือเป็นการจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน เป็นกระบวนการที่เป็นระบบเชื่อมโยงกันในมิติต่างๆ ได้แก่ การวางแผนจัดทำหลักสูตรหรือยกร่างหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินผลหลักสูตร
หลักสูตร การทำขนมจีน –น้ำยา
หล่มเก่า
ความสำคัญ
ขนมจีน เป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันทั่วทุกภาคของประเทศไทย
นอกจากจะทำรับประทานในครอบครัวแล้วยังสามารถทำขายเป็นอาชีพได้
ขนมจีนอำเภอหล่มเก่าเป็นอาหารพื้นบ้านที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบูรณ์
ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกว่าขนมจีนที่อื่น คือ เส้นขนมจีนจะทำขึ้นมาใหม่ ๆ
เส้นจะเหนียว ขาว นุ่ม มีเส้นเล็ก สีของเส้นขนมจีนนอกจากจะเป็นเส้นสีขาวธรรมดาแล้ว
ยังมีเส้นทีใช้สีจากสมุนไพรชนิดต่าง ๆ เช่นเส้นสีเหลืองจากฟักทอง
เส้นสีม่วงจากดอกอัญชัน เส้นสีเขียวจากใบเตย เส้นสีส้มจากแครอท
เป็นต้นด้วยลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์นี้จึงทำให้ขนมจีนหล่มเก่าเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
และเรียกกันติดปากว่า “ขนมจีนหล่มเก่า”
จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อให้มีความรู้
ความเข้าใจและ มีทักษะในการทำขนมจีนหล่มเก่า
2. เพื่อเป็นการส่งเสริม อนุรักษ์ขนมธรรมเนียมประเพณี และสืบสานการทำขนมจีนหล่มเก่า
3. เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้
2. เพื่อเป็นการส่งเสริม อนุรักษ์ขนมธรรมเนียมประเพณี และสืบสานการทำขนมจีนหล่มเก่า
3. เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้
ความเข้าใจ ถึงวิธีการและขั้นตอนการทำขนมจีนหล่มเก่า
2. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการทำขนมจีนหล่มเก่า
3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความตระหนักรู้จักการอนุรักษ์ขนมธรรมเนียมประเพณี และสืบสานการทำขนมจีนหล่มเก่า
2. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการทำขนมจีนหล่มเก่า
3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความตระหนักรู้จักการอนุรักษ์ขนมธรรมเนียมประเพณี และสืบสานการทำขนมจีนหล่มเก่า
เนื้อหาหลักสูตร
ประกอบด้วยเนื้อหา 5 เรื่อง ดังนี้
1. ประวัติความเป็นมาของขนมจีน
2. วิธีการทำขนมจีนหล่ม
3. การบรรจุภัณฑ์
4. การบริหารจัดการและการตลาด
5. การให้บริการ
1. ประวัติความเป็นมาของขนมจีน
2. วิธีการทำขนมจีนหล่ม
3. การบรรจุภัณฑ์
4. การบริหารจัดการและการตลาด
5. การให้บริการ
เวลาเรียน
หลักสูตรการทำขนมจีน – น้ำยา หล่มเก่า ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 50 ชั่วโมง
ภาคทฤษฎี 18 ชั่วโมง
ภาคปฏิบัติ 32 ชั่วโมง
ภาคทฤษฎี 18 ชั่วโมง
ภาคปฏิบัติ 32 ชั่วโมง
แหล่งการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียน
1. ใบความรู้เนื้อหาวิชาการทำขนมจีน
ประกอบด้วย 5 เรื่อง
2. แหล่งเรียนรู้ ร้านบุญมีขนมจีน อำเภอหล่มเก่า
2. แหล่งเรียนรู้ ร้านบุญมีขนมจีน อำเภอหล่มเก่า
กิจกรรมการเรียนรู้
1. ศึกษาความรู้ด้านทฤษฎี
2. ฝึกปฏิบัติ
3. ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้
2. ฝึกปฏิบัติ
3. ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้
การวัดผลประเมินผล
1. การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้/การมีส่วนร่วม
2. การประเมินผลงาน
2. การประเมินผลงาน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เรียนมีความรู้
ความเข้าใจ เกี่ยวกับการทำขนมจีน – น้ำยา หล่มเก่า
2. ผู้เรียนสามารถทำขนมจีน – น้ำยา หล่มเก่า ได้
3. ผู้เรียนมีความตระหนักการอนุรักษ์ขนมธรรมเนียมประเพณี และสืบสานการทำขนมจีนหล่มเก่า
4. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ ในการประกอบอาชีพได้
2. ผู้เรียนสามารถทำขนมจีน – น้ำยา หล่มเก่า ได้
3. ผู้เรียนมีความตระหนักการอนุรักษ์ขนมธรรมเนียมประเพณี และสืบสานการทำขนมจีนหล่มเก่า
4. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ ในการประกอบอาชีพได้
โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร
เรื่องที่ 1 ประวัติความเป็นมาของขนมจีน จำนวน 3 ชั่วโมง
1.1 ประวัติขนมจีนทั่วไป
1.2 ประวัติขนมจีนหล่มเก่า
1.1 ประวัติขนมจีนทั่วไป
1.2 ประวัติขนมจีนหล่มเก่า
เรื่องที่ 2 วิธีการทำขนมจีนหล่มเก่า จำนวน 27 ชั่วโมง
2.1 วัสดุ อุปกรณ์ และวัตถุดิบสำหรับทำขนมจีนหล่มเก่า
2.2 วิธีการ และขั้นตอนการทำขนมจีนหล่มเก่า
2.3 การทำน้ำยา
2.4 การทำเครื่องเคียง
2.1 วัสดุ อุปกรณ์ และวัตถุดิบสำหรับทำขนมจีนหล่มเก่า
2.2 วิธีการ และขั้นตอนการทำขนมจีนหล่มเก่า
2.3 การทำน้ำยา
2.4 การทำเครื่องเคียง
เรื่องที่ 3 การบรรจุภัณฑ์ จำนวน 9 ชั่วโมง
3.1 การออกแบบและบรรจุภัณฑ์
เรื่องที่ 4 การบริหารจัดการและการตลาด จำนวน 3 ชั่วโมง
4.1 วางแผน
4.2 เทคนิคการขาย
4.3 การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
4.2 เทคนิคการขาย
4.3 การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
เรื่องที่ 5 การให้บริการ จำนวน 8 ชั่วโมง
5.1 ความหมาย
ความสำคัญของการให้บริการ
5.2 เทคนิคการการบริการสำหรับผู้ประกอบการ
5.3 การปฏิบัติตนในการให้บริการลูกค้า
5.2 เทคนิคการการบริการสำหรับผู้ประกอบการ
5.3 การปฏิบัติตนในการให้บริการลูกค้า
หลักสูตรโรงเรียนสตรีระนอง
พุทธศักราช ๒๕๕๓
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระนอง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
คำนำ
โรงเรียนสตรีระนองเป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 จึงได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ หลักการ
จุดมุ่งหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์
ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำ
โรงเรียนสตรีระนอง
มีความมั่นใจว่า หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสตรีระนอง พุทธศักราช 2551 จะทำให้โรงเรียนสามารถพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสตรีระนอง พุทธศักราช 2551 ฉบับนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จากคณะกรรมการบริหารงานวิชาการ ครู นักเรียน
ผู้ปกครอง นักเรียนโรงเรียนสตรีระนองอย่างดียิ่ง
โรงเรียนสตรีระนองจึงขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
( )
อำนวยการโรงเรียนสตรีระนอง
บทที่ 1
ส่วนนำ
ความนำ
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544 ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี
มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับโลก
นอกจากนั้นยังได้มีการปรับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พุทธศักราช 2552 ที่เน้นการกระจายอำนาจทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและสถานศึกษาที่มีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของตนเอง
ผลการวิจัยและประเมินผลการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2544 ในช่วงระยะ 6 ปีที่ผ่านมา
พบว่ามีจุดดีหลายประการ คือ
ส่งเสริมการกระจายอำนาจทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและสถานศึกษามีส่วนร่วม
เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น และส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม
อย่างไรก็ตาม พบว่า หลักสูตรบางส่วนยังมีปัญหาและความไม่ชัดเจนบางประการที่ทำให้การนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติที่ไม่สะท้อนมาตรฐานการเรียนรู้
ดังนั้น
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จึงได้พัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
และการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
มีความชัดเจน เหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้
โรงเรียนสตรีระนอง
ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ปีการศึกษา 2552 จึงได้นำกรอบของหลักสูตรแกนการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 และกรอบหลักสูตรท้องถิ่น
จุดเน้นของโรงเรียนสตรีระนองมาเชื่อมโยงให้สอดคล้องกับเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา
โดยโรงเรียนสตรีระนองได้พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาพุทธศักราช 2552 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย วิสัยทัศน์โรงเรียน สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วยโครงสร้างเวลาเรียน
และโครงสร้างหลักสูตรชั้นปี คำอธิบายรายวิชา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
รายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน( ลูกเสือ
–ยุวกาชาด- เนตรนารี , ชุมนุม) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
และเกณฑ์การจบการศึกษาระดับประถมศึกษา เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
และการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในระดับโรงเรียน มีความชัดเจน เหมาะสม
และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้
เพื่อจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักเรียนของโรงเรียนสตรีระนองทุกคนให้มีคุณภาพด้านความรู้
และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง
และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
สาระของการศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสตรีระนองในครั้งนี้
ได้จัดให้มีรายวิชาเพิ่มเติมให้มีความยืดหยุ่น หลากหลาย สอดคล้องกับศักยภาพ
ความถนัด และความสนใจจองการพัฒนาผู้เรียน
บุคลากรทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ของโรงเรียนสตรีระนอง
ได้วางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบ
ปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนานักเรียนของโรงเรียนสตรีระนอง
ก้าวไปสู่ตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
วิสัยทัศน์
ภายในปี
การศึกษา 2555 โรงเรียนสตรีระนอง มุ่งเน้นจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
ส่งเสริมการเรียนรู้สู่มาตรฐานสากล
โดยพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม
และจิตใจ การประกอบอาชีพตระหนักถึงการเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกที่ดี
มีคุณธรรม ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เป็นผู้นำทางวิชาการ ด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน ก้าวไกลทันเทคโนโลยี
สืบสานประเพณีวัฒนธรรมไทย มีใจรักสิ่งแวดล้อม น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า
ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ
ภาระกิจ
1.
จัดการศึกษาให้กับนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
2.
นักเรียนได้รับการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ
3.
จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
เสริมกิจกรรม ตามนโยบายของ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอและสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด
และกระทรวงศึกษาธิการ
เป้าหมาย
1.
นักเรียนจบการศึกษาภาคบังคับทุกคน
2.
นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานครบทุกสาระการเรียนรู้
3.
นักเรียนทุกคนดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
โรงเรียนสตรีระนองมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้
ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้น
จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร
มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา ถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก
และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม
รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ
การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง
ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์
การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ
เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ เกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
3. ความสามารถในการการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ
ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ
เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆในสังคม แสวงความรู้
ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ต่อตนเอง
สังคมและสิ่งแวดล้อม
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆไปใช้ในการดำเนินชีวิต
ประจำวัน การเรียนรู้ตนเอง การเรียนอย่างต่อเนื่อง การทำงาน
และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล
การจัดการแก้ปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสม
การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม
และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆและมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี
เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน
การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
โรงเรียนสตรีระนองมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สังคมต้องการ
ในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึก
เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ สุจริต
3. มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง
6. มุ่งมั่นในการทำงาน
7. รักความเป็นไทย
8. มีจิตสาธารณะ
โครงสร้างเวลาเรียน
หลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ของโรงเรียนสตรีระนอง
กลุ่มสาระการเรียนรู้/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
|
เวลาเรียน
|
|||
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
|
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
|
|||
ม.1
|
ม.2
|
ม.3
|
ม.4
-6
|
|
รายวิชาพื้นฐาน
|
||||
ภาษาไทย
|
120/3
|
120/3
|
120/3
|
240/6
|
คณิตศาสตร์
|
120/3
|
120/3
|
120/3
|
240/6
|
วิทยาศาสตร์
|
120/3
|
120/3
|
120/3
|
240/6
|
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์
|
120/3
40/1
|
120/3
40/1
|
120/3
40/1
|
240/6
80/2
|
สุขศึกษาและพลศึกษา
|
80/2
|
80/2
|
80/2
|
120/3
|
ศิลปะ
|
80/2
|
80/2
|
80/2
|
120/3
|
การงานอาชีพและ
เทคโนโลยี
|
80/2
|
80/2
|
80/2
|
120/3
|
ภาษาต่างประเทศ
|
120/3
|
120/3
|
120/3
|
240/6
|
รวมเวลาเรียนรายวิชาพื้นฐาน
|
880/22
|
880/22
|
880/22
|
1,640/41
|
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
|
120
|
120
|
120
|
360
|
รายวิชาเพิ่มเติม
|
200/5
|
200/5
|
200/5
|
2,000/50-2,160/54
|
รวมเวลาเรียนทั้งหมด
|
1,200/27
|
1,200/27
|
1,200/27
|
4,000/91-4,160/95
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น