ตอบ
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะเป็น
เป็นหลักสูตรที่กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ในการพัฒนาผู้เรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่
1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6 สำหรับผู้เรียนทุกคน ทุกกลุ่มเป้าหมาย
สามารถปรับใช้ได้กับการจัดการศึกษาทุกรูปแบบ ทั้งในระบบ นอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย ใน ส่วนของการจัดการศึกษาปฐมวัย
กำหนดให้มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยเป็นการเฉพาะ
เพื่อเป็นการสร้างเสริมพัฒนาการและเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการเข้า
เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สถานศึกษานำไปใช้จัดการเรียนรู้ในสถานศึกษานั้น
กำหนดโครงสร้างที่เป็นสาระการเรียนรู้ จำนวนเวลาอย่างกว้าง ๆ
มาตรฐานการเรียนรู้ที่แสดงคุณภาพผู้เรียนเมื่อเรียนจบ 12 ปี
และเมื่อจบการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้น ของสาระการเรียนรู้แต่ละกลุ่ม
สถานศึกษาต้องนำโครงสร้างดังกล่าวนี้ไปจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา
โดยคำนึงถึงสภาพปัญหา ความพร้อม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทั้งนี้
สถานศึกษาต้องจัดทำรายวิชาในแต่ละกลุ่มให้ครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด
หลักสูตรสถานศึกษา จะเป็น
สถานศึกษาเป็นหน่วยงานที่จัดการศึกษาเป็นแหล่งของการแสวงหาความรู้จึงต้องมีหลักสูตรเป็นของตนเอง
คือหลักสูตรสถานศึกษาต้องครอบคลุมภาระงานการจัดการศึกษาทุกด้านหลักสูตรสถานศึกษาจึงประกอบด้วยการเรียนรู้ทั้งมวลเป็นประสบการณ์อื่นๆ
ที่สถานศึกษาแต่ละแห่งวางแผนเพื่อพัฒนาผู้เรียนซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษา เป็นแบบแผนหรือแนวทางหรือข้อกำหนดของการจัดการ ที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถโดยส่งเสริมให้แต่ละบุคคลพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนรวมถึงระดับขั้นของมวลประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้สะสมซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้ประสบการณ์สำเร็จในการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ชุมชน สังคม และโลกอย่างมีความสุข
หลักสูตรสถานศึกษา เป็นแบบแผนหรือแนวทางหรือข้อกำหนดของการจัดการ ที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถโดยส่งเสริมให้แต่ละบุคคลพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนรวมถึงระดับขั้นของมวลประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้สะสมซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติได้ประสบการณ์สำเร็จในการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ชุมชน สังคม และโลกอย่างมีความสุข
หลักสูตรท้องถิ่น
จะเป็นหลักสูตรท้องถิ่น
หมายถึง มวลประสบการณ์ที่จัดขึ้นทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะ เจตคติ และคุณภาพการดำรงชีวิต
โดยพยายามใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้บนพื้นฐานของสภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ของตนเอง
ตลอดจนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของชาติบ้านเมือง
กล่าวโดยสรุป
หลักสูตรท้องถิ่น คือ การจัดประสบการณ์การเรียนและเนื้อหาสาระให้กับผู้เรียนในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริงทางสังคม
วัฒนธรรมและตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและของท้องถิ่นนั้น ๆ
ดังนั้นในแต่ละหลักสูตรจะมีความแตกต่างกันออกไป
ในแต่ละท้องถิ่นก็จะมีหลักสูตรท้องถิ่นที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมและสิ่งแวดล้อม
สถานศึกษาก็ขึ้นอยู่กับ อัตลักษณ์ของสถานศึกษานั้น ๆ
คำถาม: สืบค้นจากหนังสือในระบบอินเตอร์เน็ต เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาหลักสูตรท้องถิ่น
ตอบ
คำถาม: สืบค้นจากหนังสือในระบบอินเตอร์เน็ต เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาหลักสูตรท้องถิ่น
ตอบ
หลักสูตรท้องถิ่น
หมายถึงหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียน หลักสูตรท้องถิ่นจะสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นนั้นๆ
เป็นการเรียนรู้จากภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่น ผู้เรียนแสวงหาองค์ความรู้ที่ตอบสนองกับวิถีชีวิตของตนเอง
ปรับตนเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัตน์
ผู้เรียนจะเรียนรู้ตามสภาพจริงของตนเอง สามารถนำความรู้ไปใช้การพัฒนาตนเอง
ครอบครัว และชุมชนได้ ( กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน.
2543 : 3 ) จึงอาจสรุปได้ว่า หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้กับกลุ่มผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จัดตามสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนในท้องถิ่นนั้นๆ
เป้าหมายหลัก คือ ต้องการให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนให้ดีขึ้น
หลักการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรท้องถิ่น
มีหลักในการพัฒนาที่ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายได้เกิดปัญญา หรือเกิดการเรียนรู้ ดังนี้
( กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน. 2543 : 4)
1.
การเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ มีเป้าหมายมุ่งที่การเรียนรู้สภาพปัญหา
วิธีการแก้ปัญหา และการปรับปรุงอย่างลึกซึ่ง คือ
ให้รู้และเข้าใจอย่างกระจ่างว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจนสามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ของตนเองได้
2.
การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติจริง มีเป้าหมายมุ่งที่การเรียนรู้ในการวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อการปฏิบัติจริง
จนเกิดความชำนาญและสามารถปฏิบัติได้ในทุกสถานการณ์
3.
การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน มีเป้าหมายมุ่งที่การเรียนรู้
เพื่อเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมด้วยการมีความเชื่อ
และตระหนักว่ามนุษย์ทุกคนต้องร่วมมือกัน พึ่งพาอาศัยกันและอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
4.
การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพ เป้าหมายมุ่งที่การเรียนรู้
เพื่อพัฒนาตนเองให้มีชีวิตที่งอกงาม ปรับปรุงบุคลิกภาพอย่างมั่นใจ
เน้นการมีเหตุผลและมีวิสัยทัศน์
ความสำคัญของหลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรท้องถิ่น
เป็นหลักสูตรบูรณาการที่ผู้เรียน ชุมชนและครูร่วมกันสร้างขึ้น
เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียน เรียนจากชีวิต เรียนแล้วเกิดการเรียนรู้สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตอย่างมีคุณภาพและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมอย่างมีความสุข
การเรียนการสอนจะสอนตามความต้องการของผู้เรียน โดยครูเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ ผู้เรียนเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
ดังนั้น หลักสูตรท้องถิ่นจึงมีความสำคัญ ดังต่อไปนี้ ( กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน. 2543 : 5 )
1. เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองการเรียนรู้ของรู้เรียนเฉพาะเนื้อหาสาระของหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนตามสภาพปัญหาที่เป็นจริง
2. ทำให้กิจกรรมการเรียนรู้มีความหมายต่อผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
3. ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้ เพื่อที่จะมาใช้เป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาในชีวิตจริงของตนเองในวันข้างหน้า รวมทั้งวิธีวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อการตัดสินใจที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของตนเอง
4. ชุมชนและภูมิปัญญาในชุมชน มีโอกาสมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียน ซึ่งเป็นสมาชิกของชุมชน
1. เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองการเรียนรู้ของรู้เรียนเฉพาะเนื้อหาสาระของหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนตามสภาพปัญหาที่เป็นจริง
2. ทำให้กิจกรรมการเรียนรู้มีความหมายต่อผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
3. ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้ เพื่อที่จะมาใช้เป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาในชีวิตจริงของตนเองในวันข้างหน้า รวมทั้งวิธีวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อการตัดสินใจที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของตนเอง
4. ชุมชนและภูมิปัญญาในชุมชน มีโอกาสมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียน ซึ่งเป็นสมาชิกของชุมชน
ลักษณะของหลักสูตรท้องถิ่น ลักษณะของหลักสูตรท้องถิ่น
มีลักษณะดังต่อไปนี้ ( กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน.
2543 : 5 )
1. เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองความหลากหลายของปัญหามุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เหมาะสมกับเพศ วัย มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด และทักษะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริงจนเกิดทักษะและสามารถนำไปใช้กับสถานการณ์อื่นได้อย่างเหมาะสม
2. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรของตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ท้องถิ่นตนเอง เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเรียนกับชีวิตจริงและการทำงาน รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรักและความผูกพันกับท้องถิ่นของตนมีการส่งเสริมให้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
3. เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตจริง และมุ่งเน้นการเรียนรู้อย่างบูรณาการ ไม่แยกส่วนของกระบวนการเรียนรู้ โดยผู้เรียนเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูจะเป็นผู้คอยให้คำแนะนำให้คำปรึกษา และช่วยเหลืออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน อันจะนำไปสู่การคิดเป็น ทำเป็น และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
4. เป็นหลักสูตรที่สามารถพัฒนาได้ตลอดเวลา เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
5. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนที่มีคุณภาพของสังคมในด้านศีลธรรม จริยธรรมและการธำรงไว้ซึ่งสังคมประชาธิปไตย การรักษาสิ่งแวดล้อม เกิดศรัทธาเชื่อมั่นในภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนและของประเทศชาติ
1. เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองความหลากหลายของปัญหามุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เหมาะสมกับเพศ วัย มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด และทักษะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริงจนเกิดทักษะและสามารถนำไปใช้กับสถานการณ์อื่นได้อย่างเหมาะสม
2. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรของตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ท้องถิ่นตนเอง เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเรียนกับชีวิตจริงและการทำงาน รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรักและความผูกพันกับท้องถิ่นของตนมีการส่งเสริมให้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
3. เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตจริง และมุ่งเน้นการเรียนรู้อย่างบูรณาการ ไม่แยกส่วนของกระบวนการเรียนรู้ โดยผู้เรียนเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูจะเป็นผู้คอยให้คำแนะนำให้คำปรึกษา และช่วยเหลืออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน อันจะนำไปสู่การคิดเป็น ทำเป็น และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
4. เป็นหลักสูตรที่สามารถพัฒนาได้ตลอดเวลา เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
5. เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนที่มีคุณภาพของสังคมในด้านศีลธรรม จริยธรรมและการธำรงไว้ซึ่งสังคมประชาธิปไตย การรักษาสิ่งแวดล้อม เกิดศรัทธาเชื่อมั่นในภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนและของประเทศชาติ
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน ดังนี้ ( กองพัฒนาการศึกษานอโรงเรียน. 2543
: 13 )
ขั้นที่ 1 การสำรวจสภาพปัญหาของชุมชน
ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์สภาพปัญหาชุมชนและความต้องการของผู้เรียน
ขั้นที่ 3 เขียนผังหลักสูตร
ขั้นที่ 4 เขียนหลักสูตร
ขั้นที่ 1 การสำรวจสภาพปัญหาของชุมชน
ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์สภาพปัญหาชุมชนและความต้องการของผู้เรียน
ขั้นที่ 3 เขียนผังหลักสูตร
ขั้นที่ 4 เขียนหลักสูตร
1.
สำรวจสภาพปัญหาของชุมชน คือ
การศึกษาข้อมูลเป็นอยู่ของชุมชน
เพื่อให้ได้ซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ผู้สำรวจได้แก่ ครูการศึกษานอกโรงเรียน
ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้อง
โดยสำรวจข้อมูลจากเอกสารซึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิ เช่น ข้อมูลจากการวางแผนของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ
ข้อมูลจาก จปฐ. ข้อมูลจาก กชช.2 ค และจากหน่วยงานอื่นๆ ที่ได้รวบรวมไว้แล้ว และสำรวจข้อมูลปฐมภูมิที่ผู้สำรวจไปรวบรวมข้อมูลจากชุมชน
เป็นข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งเป็นข้อมูลที่แท้จริง
และเป็นปัจจุบันของผู้เรียนและชุมชน
ประเด็นในการสำรวจข้อมูล เช่น โครงสร้างด้านกายภาพ และประวัติชุมชนข้อมูลประชากร เศรษฐกิจ การศึกษา สังคม และวัฒนธรรม การเมือง การปกครองและข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของชุมชน
วิธีการสำรวจสภาพปัญหาของชุมชน อาจใช้หลายๆ วิธีการผสมผสานกันเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์และเป็นรูปธรรม เช่น การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม การสังเกต หรือการจัดเวทีประชาคม เป็นต้น
ประเด็นในการสำรวจข้อมูล เช่น โครงสร้างด้านกายภาพ และประวัติชุมชนข้อมูลประชากร เศรษฐกิจ การศึกษา สังคม และวัฒนธรรม การเมือง การปกครองและข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของชุมชน
วิธีการสำรวจสภาพปัญหาของชุมชน อาจใช้หลายๆ วิธีการผสมผสานกันเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์และเป็นรูปธรรม เช่น การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม การสังเกต หรือการจัดเวทีประชาคม เป็นต้น
2.
การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน เมื่อทำการสำรวจชุมชนเสร็จแล้ว ข้อมูลที่ได้จะมีสภาพปัญหาของชุมชนที่หลากหลาย
มีทั้งปัญหาที่เป็นระดับความต้องการ (What) และปัญหาความจำเป็น
(Need) ดังนั้น จะต้องนำปัญหานั้นมาวิเคราะห์
จัดหมวดหมู่ของปัญหา เช่น แบ่งตามประเภทความรุนแรงของปัญหา ความยากง่ายในการดำเนินการแก้ไขปัญหา
ความเร่งด่วนของปัญหา และข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน
และนำทรัพยากรใช้ให้เกิดประโยชน์
3.
การเขียนผังหลักสูตร การจัดทำผังหลักสูตรท้องถิ่น
ผังหลักสูตร หมายถึง กรอบความคิดหัวข้อของหลักสูตร ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ประกอบด้วยหัวข้อเรื่อง หรือหัวข้อเนื้อหาหลัก
และหัวข้อย่อยที่ได้จากความต้องการ ( เป็นผลจากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
จากการสำรวจมาจากชุมชน ) ให้นำหัวข้อความต้องการมาจัดทำผังหลักสูตรท้องถิ่น
โดยโครงสร้างของผังหลักสูตร ประกอบด้วย
หัวเรื่องหลัก ( Theme ) หรือหัวข้อเนื้อหาหลักเป็นหัวข้อที่บอกถึงชื่อเรื่องใหญ่ได้จากกลุ่มความต้องการ
( ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหา ) ซึ่งจะคลุมความต้องการย่อยๆ
ในขอบข่ายเรื่องเดียวกัน
หัวข้อย่อย ( Title ) เป็นหัวข้อเรื่องที่ตั้งจากความต้องการย่อยที่อยู่ในกลุ่มความต้องการใหญ่
ซึ่งอาจมีหลายเรื่อง ในการพิจารณาหัวข้อย่อย
ให้พิจารณาความต้องการย่อยที่วิเคราะห์แล้วก่อน ถ้าเรื่องใดเป็นเรื่องกลุ่มเดียวกัน โดยรวมเป็นหัวข้อเดียวกัน
การสร้างกรอบหัวเรื่องย่อย จะต้องจัดลำดับเนื้อหาจากง่ายไปสู่เนื้อหาที่ยากขึ้นตามลำดับ หรือจัดลำดับจากความเร่งด่วน ไปสู่เนื้อหาที่เร่งด่วนน้อยกว่าการสร้างกรอบหัวเรื่องย่อยสามารถสร้างเพิ่มเติมได้ ดังนั้น ในแต่ละหัวข้อหลักควรมีกรอบว่างไว้ด้วยเมื่อพบปัญหาใหม่ในเรื่องเดียวกันก็สามารถมาใส่กรอบเพิ่มเติมได้ ดังตัวอย่าง
การสร้างกรอบหัวเรื่องย่อย จะต้องจัดลำดับเนื้อหาจากง่ายไปสู่เนื้อหาที่ยากขึ้นตามลำดับ หรือจัดลำดับจากความเร่งด่วน ไปสู่เนื้อหาที่เร่งด่วนน้อยกว่าการสร้างกรอบหัวเรื่องย่อยสามารถสร้างเพิ่มเติมได้ ดังนั้น ในแต่ละหัวข้อหลักควรมีกรอบว่างไว้ด้วยเมื่อพบปัญหาใหม่ในเรื่องเดียวกันก็สามารถมาใส่กรอบเพิ่มเติมได้ ดังตัวอย่าง
4.
การเขียนหลักสูตรท้องถิ่น การเขียนหลักสูตรท้องถิ่น
ทาบา ( Taba ; อ้างถึงในกองพัฒนาการศึกษานอกโรเรียน.
2543 ) มีแนวคิดว่าการพัฒนาหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบอย่างไร ควรมีองค์ประกอบ 4
ประการด้วยกัน คือ 1) วัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะวิชา
2) เนื้อหาวิชาและจำนวนชั่วโมงสอนแต่ละวิชา 3) กระบวนการเรียนการสอนและ 4) โครงการประเมินผลตามหลักสูตร
ดังนั้น การเขียนหลักสูตรท้องถิ่น ได้กำหนดโครงสร้างการเขียนหลักสูตรไว้ดังนี้ คือ
1. ชื่อหลักสูตร
2. ความสำคัญ
3. จุดมุ่งหมาย
4. วัตถุประสงค์
5. เนื้อหาหลักสูตร
6. เวลาเรียน
7. แหล่งเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียน
8. การวัดและประเมินผลการเรียน
9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
10. โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร
ดังนั้น การเขียนหลักสูตรท้องถิ่น ได้กำหนดโครงสร้างการเขียนหลักสูตรไว้ดังนี้ คือ
1. ชื่อหลักสูตร
2. ความสำคัญ
3. จุดมุ่งหมาย
4. วัตถุประสงค์
5. เนื้อหาหลักสูตร
6. เวลาเรียน
7. แหล่งเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียน
8. การวัดและประเมินผลการเรียน
9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
10. โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร
หลักในการเขียนหลักสูตร หลักในการเขียนหลักสูตร มีดังนี้
1. ความสำคัญ หลักสูตรท้องถิ่น เป็นหลักสูตรที่สถานศึกษาสามารถสร้างขึ้น เพื่อแก้ปัญหาของผู้เรียนในด้านต่างๆ
รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นขึ้นมา เพื่อสนองตอบต่อความต้องการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งของชุมชน
โดยพัฒนาเนื้อหาสาระแบบมีส่วนร่วมของบุคคลหลายๆ ฝ่ายอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน
และเนื้อหาเฉพาะเจาะจง เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของตนเอง ชุมชน
และสังคมในภาพรวมได้
2. จุดมุ่งหมาย ( Aims ) หมายถึง ข้อกำหนดทั่วไปที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะและทิศทางเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน ที่ออกแบบไว้ให้บรรจุ ซึ่งผลผลิต หรือพฤติกรรมในอนาคต
2. จุดมุ่งหมาย ( Aims ) หมายถึง ข้อกำหนดทั่วไปที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะและทิศทางเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน ที่ออกแบบไว้ให้บรรจุ ซึ่งผลผลิต หรือพฤติกรรมในอนาคต
ตัวอย่างจุดมุ่งหมายของอาชีพโฮมสเตย์
1.
เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นได้พัฒนาคุณภาพชีวิต
2. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนในท้องถิ่นมีความรู้และทักษะความสามารถจัดการท่องเที่ยวในชุมชนได้
2. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนในท้องถิ่นมีความรู้และทักษะความสามารถจัดการท่องเที่ยวในชุมชนได้
3. วัตถุประสงค์ ( Objective ) เป็นคำที่มีความเฉพาะเจาะจงเป็นเครื่องบ่งชี้ผลลัพธ์กับหลักสูตร
เป็นลักษณะจุดประสงค์ปลายทาง
ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียน
1.
มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการจัดการโฮมสเตย์ ( Home Stay )
2. สามารถบริหารจัดการโฮมสเตย์ และจัดกิจกรรมนำเที่ยวได้
3. มีความตระหนัก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์วัฒนธรรมของท้องถิ่น
2. สามารถบริหารจัดการโฮมสเตย์ และจัดกิจกรรมนำเที่ยวได้
3. มีความตระหนัก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์วัฒนธรรมของท้องถิ่น
4.
เนื้อหาหลักสูตร เป็นการนำหัวข้อหลัก ( Theme
) ที่กำหนดไว้มาเขียน ซึ่งเนื้อหาสาระของหลักสูตร
จะต้องตอบสนองต่อการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรบาทา
( Taba. 1973 : อ้างถึงใน หรรษา นิลวิเชียร.
2544 : 126 ) เสนอแนะเกณฑ์ในการเลือกเนื้อหาของหลักสูตร
ซึ่งเนื้อหาของหลักสูตรจะต้องถูกต้องและมีความสำคัญ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและเป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญ
เนื้อหาจะต้องสอดคล้องกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมในปัจจุบัน
มีความสมดุลทั้งความกว้างและความลึก สนองวัตถุประสงค์หลากหลายอันได้แก่การหาความรู้ใหม่
การคิดอย่างประสิทธิภาพ เจตคติ
ความสนใจ นิสัยที่เหมาะสมและทักษะสอดคล้องกับประสบการณ์ของผู้เรียน
และผู้เรียนสามารถเรียนได้ และสอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
5.
เวลาเรียน ให้ระบุเวลาเรียนตลอดหลักสูตร
ใช้เวลากี่ชั่วโมง และแยกเป็นภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
ใช้เวลาทั้งหมดกี่ชั่วโมง การกำหนดเวลาเรียนต้องมีความเหมาะสมกับเนื้อหาและวิธีการสอน
6.
แหล่งการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียน บอกแหล่งการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียน
เช่น ศึกษาจากเอกสารวิชาการ
ศึกษาจาก VCD ศึกษา Website ศึกษาจากผู้รู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น
7.
การวัดและประเมินผล ระบุว่ามีการวัด
และประเมินผลด้วยวิธีใด เช่น การสังเกต การทดสอบ การวัดจากชิ้นงาน เป็นต้น
8.
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บอกความคาดหวังของผลลัพธ์ทางการศึกษา
ทั้งในระดับกว้างและระดับเฉพาะ เช่น
1. ผู้เรียนสามารถบริหารจัดการโฮมสเตย์ได้
2. ผู้เรียนและชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดความเข้มแข็งของเศรษฐกิจของชุมชน
3. ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาอาชีพโฮมสเตย์
1. ผู้เรียนสามารถบริหารจัดการโฮมสเตย์ได้
2. ผู้เรียนและชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดความเข้มแข็งของเศรษฐกิจของชุมชน
3. ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาอาชีพโฮมสเตย์
9.
โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร ให้นำหัวข้อหลักและหัวข้อย่อย เนื้อหาของหลักสูตรในแต่ละเรื่องทั้งหมดมาเขียนไว้พร้อมระบุจำนวนชั่วโมง
ในแต่ละหัวข้อหลัก
ตัวอย่างการเขียนหลักสูตรท้องถิ่น มีดังต่อไปนี้
ตัวอย่างแบบการเขียนหลักสูตรท้องถิ่น
ชื่อหลักสูตร …………………
ความสำคัญ
……………………………………………………………………
……………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………
………………………………………………..
……………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………
………………………………………………..
จุดมุ่งหมาย
1. ……………………………………………………………………….
…………………………………………………….
…………………………………………………….
2. ………………………………………………………………………………….
………………………………………….
………………………………………….
วัตถุประสงค์
1. ………………………………………………………………………………
……………………………………………..
……………………………………………..
2. ………………………………………………………………………………..
……………………………………………
……………………………………………
3. …………………………………………………………………………..
…………………………………………………
…………………………………………………
เนื้อหาของหลักสูตร
ประกอบด้วยเนื้อหา ……….. เรื่อง ดังนี้
1. …………………………………………………………………………..
…………………………………………………
…………………………………………………
2. ……………………………………………………………………..
………………………………………………………
………………………………………………………
3. ……………………………………………………………………..
………………………………………………………
………………………………………………………
4. ……………………………………………………………………..
………………………………………………………
………………………………………………………
เวลาเรียน
หลักสูตรวิชาชีพ …………………………. ใช้เวลาเรียนทั้งหมด
……… ชั่วโมง
ภาคทฤษฎี …………….. ชั่วโมง
ภาคปฏิบัติ …………….. ชั่วโมง
แหล่งการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียน
1. ……………………………………………………………………..
………………………………………………………
………………………………………………………
2. ……………………………………………………………………..
………………………………………………………
………………………………………………………
3. ……………………………………………………………………..
………………………………………………………
………………………………………………………
4. …………………………………………………………………….
……………………………………………………….
……………………………………………………….
การวัดผลประเมินผลการเรียน
วิธีการวัดและประเมินผลการเรียน ประกอบด้วย
1. …………………………………………………………………….
……………………………………………………….
……………………………………………………….
2. ……………………………………………………………………
………………………………………………………..
………………………………………………………..
3. ……………………………………………………………………
………………………………………………………..
………………………………………………………..
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. …………………………………………………………………….
……………………………………………………….
……………………………………………………….
2. ………………………………………………………………….
………………………………………………………….
………………………………………………………….
3. ………………………………………………………………….
………………………………………………………….
………………………………………………………….
4. ………………………………………………………………….
………………………………………………………….
………………………………………………………….
โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วยเนื้อหา ………. เรื่อง ดังนี้
เรื่องที่ 1 …………………………………………………… จำนวน ……………….
ชั่วโมง
1.1 ………………………………………………………………
…………………………………………………………….
…………………………………………………………….
1.2 ………………………………………………………………
…………………………………………………………….
…………………………………………………………….
1.3 ……………………………………………………………..
……………………………………………………………..
……………………………………………………………..
เรื่องที่ 2 …………………………………………………… จำนวน ……………….
ชั่วโมง
2.1 …………………………………………………………….
………………………………………………………………
………………………………………………………………
2.2 ……………………………………………………………
……………………………………………………………….
……………………………………………………………….
2.3 ……………………………………………………………
……………………………………………………………….
……………………………………………………………….
( ตัวอย่าง
) หลักสูตรท้องถิ่น
ชื่อหลักสูตร หลักสูตรการพัฒนาอาชีพโฮมสเตย์
ความสำคัญ
การพัฒนาอาชีพโฮมสเตย์ เป็นรูปแบบของการประกอบอาชีพของประชาชน
โดยได้นำต้นทุนทางสังคม คือ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาบริหารจัดการและเพิ่มมูลค่าจูงใจให้นักท่องเที่ยวเข้ามาสัมผัสกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในรูปแบบโฮมสเตย์
ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาโฮมสเตย์ ยึดหลักการของการศึกษาตลอดชีวิต
โดยให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เน้นการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ควบคู่กับสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการโฮมสเตย์ ภายใต้ยุทธศาสตร์การใช้ต้นทุนทางธรรมชาติ ทุนทรัพยากรบุคคล
ทุนภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้ ทุนทางวัฒนธรรม
ทุนงบประมาณของรัฐ และทุนทางความรู้มาใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้
การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพโฮมสเตย์ เป็นการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างศักยภาพให้ผู้ประกอบอาชีพโฮมสเตย์มีความรู้ และสามารถพัฒนาตนเองและกลุ่มไปสู่การบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน เป็นไปตามหลักการของโฮมสเตย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับตนเอง บุคคลภายนอก ได้แก่ นักท่องเที่ยวและเครือข่าย นำไปสู่การเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ตรงของการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชน โดยชุมชน
การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพโฮมสเตย์ เป็นการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างศักยภาพให้ผู้ประกอบอาชีพโฮมสเตย์มีความรู้ และสามารถพัฒนาตนเองและกลุ่มไปสู่การบริหารจัดการที่มีมาตรฐาน เป็นไปตามหลักการของโฮมสเตย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับตนเอง บุคคลภายนอก ได้แก่ นักท่องเที่ยวและเครือข่าย นำไปสู่การเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ตรงของการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชน โดยชุมชน
จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อให้ชุมชนในท้องถิ่น ได้พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
โดยนำหลักของการจัดโฮมสเตย์มาพัฒนา
2. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชน ท้องถิ่นมีความรู้ เกิดทักษะการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนเพื่อชุมชน
2. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชน ท้องถิ่นมีความรู้ เกิดทักษะการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนเพื่อชุมชน
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียน
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจแนวทางการพัฒนาอาชีพโฮมสเตย์
2. เพื่อให้ผู้เรียนมีการพัฒนาอาชีพโฮมสเตย์ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
3. เพื่อให้ผู้เรียนความสามารถในการบริหารจัดการอาชีพโฮมสเตย์ได้
4. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการจัดกิจกรรมโฮมสเตย์ได้อย่างมีมาตรฐาน
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจแนวทางการพัฒนาอาชีพโฮมสเตย์
2. เพื่อให้ผู้เรียนมีการพัฒนาอาชีพโฮมสเตย์ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
3. เพื่อให้ผู้เรียนความสามารถในการบริหารจัดการอาชีพโฮมสเตย์ได้
4. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการจัดกิจกรรมโฮมสเตย์ได้อย่างมีมาตรฐาน
เนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วยเนื้อหา 12 เรื่อง ดังนี้
1. สถานการณ์การท่องเที่ยวอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
2. นโยบายการท่องเที่ยวของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2546 – 2549
3. ความรู้พื้นฐานในการจัดโฮมสเตย์
4. แนวทางการจัดกิจกรรมนำเที่ยว
5. เทคนิคการให้บริการสำหรับผู้ประกอบการโฮมสเตย์
6. เทคนิคการให้บริการสำหรับผู้ประกอบการโฮมสเตย์
7. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเป็นมัคคุเทศก์
8. แนวทางการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโฮมสเตย์
9. การศึกษาดูงานในแหล่งประกอบการโฮมสเตย์
10. เทคนิคการประกอบอาหารสำหรับผู้ประกอบการโฮมสเตย์
11. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
12. ภาษาอังกฤษ เพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการโฮมสเตย์
1. สถานการณ์การท่องเที่ยวอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
2. นโยบายการท่องเที่ยวของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2546 – 2549
3. ความรู้พื้นฐานในการจัดโฮมสเตย์
4. แนวทางการจัดกิจกรรมนำเที่ยว
5. เทคนิคการให้บริการสำหรับผู้ประกอบการโฮมสเตย์
6. เทคนิคการให้บริการสำหรับผู้ประกอบการโฮมสเตย์
7. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเป็นมัคคุเทศก์
8. แนวทางการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโฮมสเตย์
9. การศึกษาดูงานในแหล่งประกอบการโฮมสเตย์
10. เทคนิคการประกอบอาหารสำหรับผู้ประกอบการโฮมสเตย์
11. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
12. ภาษาอังกฤษ เพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการโฮมสเตย์
เวลาเรียน
หลักสูตรการพัฒนาอาชีพโฮมสเตย์ ใช้เวลาเรียนทั้งหมด
48 ชั่วโมง
ภาคทฤษฎี 27 ชั่วโมง
ภาคปฏิบัติ 21 ชั่วโมง
ภาคทฤษฎี 27 ชั่วโมง
ภาคปฏิบัติ 21 ชั่วโมง
แหล่งการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียน
1. เนื้อหาวิชาการพัฒนาอาชีพโฮมสเตย์ ประกอบด้วยเนื้อหา 12 เรื่อง
2. ศึกษาดูงานสถานประกอบการภายใน ภายนอก
3. ใบความรู้
4. การพบกลุ่มเรียนรู้
1. เนื้อหาวิชาการพัฒนาอาชีพโฮมสเตย์ ประกอบด้วยเนื้อหา 12 เรื่อง
2. ศึกษาดูงานสถานประกอบการภายใน ภายนอก
3. ใบความรู้
4. การพบกลุ่มเรียนรู้
การวัดผลประเมินผลการเรียน วิธีการวัดและประเมินผลการเรียน ประกอบด้วย
1. การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ / การรับรู้ / การมีส่วนร่วม
2. การสังเกตการปฏิบัติจริงในการรับนักท่องเที่ยว
3. สมุดเยี่ยมแสดงความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว
4. กิจกรรมของกลุ่ม
1. การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ / การรับรู้ / การมีส่วนร่วม
2. การสังเกตการปฏิบัติจริงในการรับนักท่องเที่ยว
3. สมุดเยี่ยมแสดงความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว
4. กิจกรรมของกลุ่ม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เรียนมีความรู้ และความเข้าใจ การบริหารจัดการโฮมสเตย์
2. ผู้เรียนมีแนวทางการพัฒนาโฮมสเตย์ได้อย่างยั่งยืน
3. ผู้เรียนมีทักษะการบริหารจัดการโฮมสเตย์
4. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการโฮมสเตย์ได้
2. ผู้เรียนมีแนวทางการพัฒนาโฮมสเตย์ได้อย่างยั่งยืน
3. ผู้เรียนมีทักษะการบริหารจัดการโฮมสเตย์
4. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการโฮมสเตย์ได้
โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วยเนื้อหา 12 เรื่อง ดังนี้
เรื่องที่ 1 สถานการณ์การท่องเที่ยวอดีต
ปัจจุบันและอนาคต จำนวน 3 ชั่วโมง
1. สถานการณ์การท่องเที่ยวอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
2. บทบาทการท่องเที่ยวของไทย
1. สถานการณ์การท่องเที่ยวอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
2. บทบาทการท่องเที่ยวของไทย
เรื่องที่ 2 นโยบายการท่องเที่ยวของประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2546 – 2549 จำนวน 3 ชั่วโมง
1. นโยบายการท่องเที่ยวของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2546 – 2549
2. นโยบายด้านการบริการและการท่องเที่ยว
3. นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
1. นโยบายการท่องเที่ยวของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2546 – 2549
2. นโยบายด้านการบริการและการท่องเที่ยว
3. นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
เรื่องที่ 3 ความรู้พื้นฐาน
และมาตรฐานการจัดการโฮมสเตย์ จำนวน 4 ชั่วโมง
1. ความรู้พื้นฐานในการจัดโฮมสเตย์
2. มาตรฐานการจัดโฮมสเตย์
1. ความรู้พื้นฐานในการจัดโฮมสเตย์
2. มาตรฐานการจัดโฮมสเตย์
เรื่องที่ 4 แนวทางการจัดกิจกรรมนำเที่ยว
จำนวน 4 ชั่วโมง
1. รายการนำเที่ยว
2. การจัดทำรายการนำเที่ยว
3. การเสนอรายการนำเที่ยวแก่นักท่องเที่ยว
1. รายการนำเที่ยว
2. การจัดทำรายการนำเที่ยว
3. การเสนอรายการนำเที่ยวแก่นักท่องเที่ยว
เรื่องที่ 5 เทคนิคการต้อนรับนักท่องเที่ยว
จำนวน 4 ชั่วโมง
1. การต้อนรับนักท่องเที่ยว
1.1 หลักในการให้การต้อนรับ
1.2 ลักษณะการต้อนรับที่ดี
1.3 คุณสมบัติของผู้ทำงานต้อนรับ
1.4 ข้อควรระวังในการต้อนรับ
1. การต้อนรับนักท่องเที่ยว
1.1 หลักในการให้การต้อนรับ
1.2 ลักษณะการต้อนรับที่ดี
1.3 คุณสมบัติของผู้ทำงานต้อนรับ
1.4 ข้อควรระวังในการต้อนรับ
2. การบริการนักท่องเที่ยว
2.1 วิธีปฏิบัติในการให้บริการที่เป็นเลิศ
2.2 เทคนิคการบริการสำหรับผู้ประกอบการโฮมสเตย์
2.3 ความหมายและความสำคัญของการต้อนรับและการให้บริการ
2.1 วิธีปฏิบัติในการให้บริการที่เป็นเลิศ
2.2 เทคนิคการบริการสำหรับผู้ประกอบการโฮมสเตย์
2.3 ความหมายและความสำคัญของการต้อนรับและการให้บริการ
เรื่องที่ 6 เทคนิคการให้บริการสำหรับผู้ประกอบการโฮมสเตย์
จำนวน 4 ชั่วโมง
1. เทคนิคการบริการสำหรับผู้ประกอบการโฮมสเตย์
2. ความหมาย ลักษณะ คุณสมบัติของผู้ให้บริการ
3. วิธีปฏิบัติการให้บริการที่เป็นเลิศ
1. เทคนิคการบริการสำหรับผู้ประกอบการโฮมสเตย์
2. ความหมาย ลักษณะ คุณสมบัติของผู้ให้บริการ
3. วิธีปฏิบัติการให้บริการที่เป็นเลิศ
เรื่องที่ 7 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเป็นมัคคุเทศก์
จำนวน 4 ชั่วโมง
1. ความหมายนของมัคคุเทศก์
2. ประโยชน์ของมัคคุเทศก์
3. บทบาทและหน้าที่ของมัคคุเทศก์
4. ความรู้ทั่วไปสำหรับมัคคุเทศก์
5. มนุษย์สัมพันธ์ของมัคคุเทศก์
6. บุคลิกภาพของมัคคุเทศก์
7. การให้บริการที่ดีของมัคคุเทศก์
8. ปัจจัยและหลักการสำคัญของมัคคุเทศก์
1. ความหมายนของมัคคุเทศก์
2. ประโยชน์ของมัคคุเทศก์
3. บทบาทและหน้าที่ของมัคคุเทศก์
4. ความรู้ทั่วไปสำหรับมัคคุเทศก์
5. มนุษย์สัมพันธ์ของมัคคุเทศก์
6. บุคลิกภาพของมัคคุเทศก์
7. การให้บริการที่ดีของมัคคุเทศก์
8. ปัจจัยและหลักการสำคัญของมัคคุเทศก์
เรื่องที่ 8 แนวทางการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโฮมสเตย์
จำนวน 3 ชั่วโมง
1. ความหมายของการมีส่วนร่วมของชุมชนและการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยว
2. องค์ประกอบการท่องเที่ยว
3. การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยว
1. ความหมายของการมีส่วนร่วมของชุมชนและการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยว
2. องค์ประกอบการท่องเที่ยว
3. การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยว
เรื่องที่ 9 การศึกษาดูงานในแหล่งประกอบการโฮมสเตย์
จำนวน 7 ชั่วโมง
1. องค์ประกอบสำคัญของการศึกษาดูงานในแหล่งประกอบการ
2. ขั้นตอนการเรียนรู้ในระหว่างการศึกษาดูงาน
3. ข้อเสนอแนะข้อดีและข้อจำกัดของการศึกษาดูงาน
1. องค์ประกอบสำคัญของการศึกษาดูงานในแหล่งประกอบการ
2. ขั้นตอนการเรียนรู้ในระหว่างการศึกษาดูงาน
3. ข้อเสนอแนะข้อดีและข้อจำกัดของการศึกษาดูงาน
เรื่องที่ 10 เทคนิคการประกอบอาหารสำหรับผู้ประกอบการโฮมสเตย์
จำนวน 3 ชั่วโมง
1. ความหมายของอาหารสารอาหารการโภชนาการ
2. อาหารหลัก 5 หมู่
3. เคล็ดลับในการปรุงอาหารประเภทต่างๆ
1. ความหมายของอาหารสารอาหารการโภชนาการ
2. อาหารหลัก 5 หมู่
3. เคล็ดลับในการปรุงอาหารประเภทต่างๆ
เรื่องที่ 11 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
จำนวน 3 ชั่วโมง
1. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
2. หลักทั่วไปในการปฐมพยาบาล
3. การปฐมพยาบาลในลักษณะต่างๆ
1. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
2. หลักทั่วไปในการปฐมพยาบาล
3. การปฐมพยาบาลในลักษณะต่างๆ
เรื่องที่ 12 ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับผู้ประกอบการโฮมสเตย์
จำนวน 6 ชั่วโมง
1. คำศัพท์การทักทายทั่วไป
2. คำศัพท์จำนวนนับ
3. คำศัพท์เกี่ยวกับอาหาร
1. คำศัพท์การทักทายทั่วไป
2. คำศัพท์จำนวนนับ
3. คำศัพท์เกี่ยวกับอาหาร
*************************
อ้างอิงบทความนี้
อัญชลี ธรรมะวิธีกุล: https://panchalee.wordpress.com/2009/04/10/local_curriculum/
อัญชลี ธรรมะวิธีกุล: https://panchalee.wordpress.com/2009/04/10/local_curriculum/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น