คำถาม: ทฤษฎีหลักสูตร และทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ: ทฤษฎีหลักสูตร ทฤษฎีต่างๆ
เกิดจากข้อเท็จจริงซึ่งค้นพบได้จากการใช้การพิสูจน์ และการใช้ข้อสรุปจากกฎที่ตั้งไว้จากการสังเกต
มิใช่อาศัยเหตุและผลและนำมาสรุปไว้เป็นกฎและหลักการ
ทฤษฎีเกี่ยวกับการสังเคราะห์และนำไปสู้การสร้างกฎที่ใช้ได้ทั่วไป มีความเป็นสากล (Universal) สามารถพิสูจน์ทดลองได้ (Testable) และมีส่วนประกอบ
(Element) ที่เหมือนกัน ทฤษฎีทำหน้าที่ อธิบาย และความหมาย
เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานที่มีระเบียบแบบแผน
นำไปสู่การคาดคะเนข้อมูลได้โดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์
และนำไปสู้การยืนยันว่าทฤษฎีที่ตั้งขึ้นมีความถูกต้องและน่าจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร คือการพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวข้องกับการพิจารณาและการกำหนดเป้าหมายว่าหลักสูตรที่จัดทำนั้นมีเป้าหมายเพื่ออะไร
ทั้งโดยส่วนรวมและส่วนย่อยของหลักสูตรนั้นๆ อย่างชัดเจนการคัดเลือกกิจกรรม
วัสดุประกอบการเรียนการสอน การเลือกสรรเนื้อหาสาระ กิจกรรมทั้งในทั้งนอก ห้องเรียน
การกำหนดระบบการจัดวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมแต่ละวิชาและแต่ละชั้นเรียน
คำถาม: สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เรื่องท นิยามความหมาย: ทฤษฎี ทฤษฎีหลักสูตร ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ: ทฤษฎีความหมายในทางวิทยาศาสตร์ในทางวิทยาศาสตร์นั้น
ทฤษฎี มีความหมายว่าชุดของความคิดรวบยอด (a set of concepts), ชุดของข้อเสนอ
(a set of propositions) และชุดของการสร้าง (a set of
construct) ทฤษฎีเป็นข้ออธิบายที่มีรากฐานอยู่บนความรู้ชุดหนึ่ง สามารถพิสูจน์
ทดลองได้ มีความสมเหตุสมผล และสามารถใช้นำมาคาดการณ์ได้ โดยลักษณะสำคัญของทฤษฎีในทางวิทยาศาสตร์มี
5 ข้อ คือ
1.เป็นกฎเกณฑ์ที่มีความเป็นนามธรรม
(abstract rule)
2.สามารถอธิบายได้เป็นการทั่วไป
(generalized)
3.สามารถพิสูจน์
และทดสอบได้ (testability)
4.ผลที่ได้จากการพิสูจน์
และทดสอบมีความเที่ยงตรง (validity)
5.มีความน่าเชื่อถือเนื่องจากผ่านการพิสูจน์และทดสอบมาแล้ว
(reliability)
ทฤษฎีคืออะไร
คือ กลุ่มความสัมพันธ์ของแนวคิดคำนิยาม และองค์ประกอบต่าง ๆ
ที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง
และชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ
โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายหรือคาดเดาปรากฏการณ์นั้น จากคำจำกัดความข้างต้น
สามารถแยกแยะความหมายของทฤษฎีได้ 3 ประเด็น คือ
ทฤษฎี คือ
กลุ่มของข้อความที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของสิ่งต่าง ๆ
ทฤษฎีช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรต่าง
ๆ
และเมื่อได้ปฏิบัติตามทฤษฎีแล้ว จะแสดงให้เห็นถึงลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง
ทฤษฎีอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ
โดยเจาะจงไปว่าตัวแปรใดสัมพันธ์กับตัวแปรใด และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
- คำ อธิบายในทฤษฎีจะสะท้อนให้เห็นแนวคิด
ซึ่งทฤษฎีแต่ละทฤษฎีจะมีความแตกต่างกันไป
เนื่องจากคำอธิบายนั้นตั้งอยู่บนหลักปรัชญาที่ต่างกัน ดังนั้นจึงมีการแบ่งประเภทของทฤษฎีตามรูปคำอธิบายของหลักปรัชญาต่างๆ
-ทฤษฎี ทางนิเทศศาสตร์ จะมุ่งอธิบายถึงพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ทุกรูปแบบ ซึ่งแต่ละทฤษฎีจะอธิบายถึงพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ในลักษณะใดนั้น ขึ้นอยู่กับความเชื่อหรือหลักปรัชญาของผู้สร้างทฤษฎีว่า ตัวแปรอะไรที่สามารถนำมาอธิบายพฤติกรรมนั้นได้
-ทฤษฎี ทางนิเทศศาสตร์ จะมุ่งอธิบายถึงพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ทุกรูปแบบ ซึ่งแต่ละทฤษฎีจะอธิบายถึงพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ในลักษณะใดนั้น ขึ้นอยู่กับความเชื่อหรือหลักปรัชญาของผู้สร้างทฤษฎีว่า ตัวแปรอะไรที่สามารถนำมาอธิบายพฤติกรรมนั้นได้
องค์ประกอบของทฤษฎี
1. แนวความคิด (Concept)
2. ข้อเสนอหรือข้อสมมติฐาน (Proposition or Hypothesis)
3. เหตุการณ์ (Contingency) ที่มีกระบวนการพิสูจน์จากข้อเสนอหรือข้อสมมติฐาน
2. ข้อเสนอหรือข้อสมมติฐาน (Proposition or Hypothesis)
3. เหตุการณ์ (Contingency) ที่มีกระบวนการพิสูจน์จากข้อเสนอหรือข้อสมมติฐาน
หน้าที่ของทฤษฎี
1. จัดและสรุปข้อเท็จจริงต่าง ๆ
2. เน้นความสำคัญของตัวแปร
3. ขยายความหรือตีความเหตุการณ์
4. ช่วยในการสังเกตเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นและเกิดขึ้นได้อย่างไร
5. ทำนาย หรือคาดเดาเกี่ยวกับผลลัพธ์ของ เหตุการณ์ต่าง ๆ
6. ถ่ายทอดความรู้
7. ให้คุณค่าแก่การศึกษา ก่อให้เกิดการวิจัย โดยสามารถระบุตัวแปรที่เกี่ยวข้องได้ และนำไปสู่การพัฒนาทฤษฎีใหม่
8. กำหนดปทัสถานหรือคุณสมบัติของพฤติกรรม
2. เน้นความสำคัญของตัวแปร
3. ขยายความหรือตีความเหตุการณ์
4. ช่วยในการสังเกตเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นและเกิดขึ้นได้อย่างไร
5. ทำนาย หรือคาดเดาเกี่ยวกับผลลัพธ์ของ เหตุการณ์ต่าง ๆ
6. ถ่ายทอดความรู้
7. ให้คุณค่าแก่การศึกษา ก่อให้เกิดการวิจัย โดยสามารถระบุตัวแปรที่เกี่ยวข้องได้ และนำไปสู่การพัฒนาทฤษฎีใหม่
8. กำหนดปทัสถานหรือคุณสมบัติของพฤติกรรม
อ้างอิง 1.ชมรม พัฒนาสังคม.
ทฤษฎีสังคม (Social Theory). กรุงเทพฯ : ชมรมพัฒนาสังคม
คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2534, น. 7
– 8.
ทฤษฎีหลักสูตร: ทฤษฎีต่างๆ
เกิดจากข้อเท็จจริงซึ่งค้นพบได้จากการใช้การพิสูจน์
และการใช้ข้อสรุปจากกฎที่ตั้งไว้จากการสังเกต
มิใช่อาศัยเหตุและผลและนำมาสรุปไว้เป็นกฎและหลักการ
ทฤษฎีเกี่ยวกับการสังเคราะห์และนำไปสู้การสร้างกฎที่ใช้ได้ทั่วไป มีความเป็นสากล (Universal) สามารถพิสูจน์ทดลองได้ (Testable) และมีส่วนประกอบ
(Element) ที่เหมือนกัน ทฤษฎีทำหน้าที่ อธิบาย และความหมาย
เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานที่มีระเบียบแบบแผน
นำไปสู่การคาดคะเนข้อมูลได้โดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์
และนำไปสู้การยืนยันว่าทฤษฎีที่ตั้งขึ้นมีความถูกต้องและน่าจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด
Smith
and others (1957)
มีความเชื่อว่าทฤษฎีหลักสูตรจะช่วยสร้างและให้เหตุผลที่สนับสนุนทางการศึกษา
เพื่อประกอบการเลือกและจัดหาเนื้อหาที่ต่างกันของผู้เรียน
นักพัฒนาหลักสูตรจึงได้นำทฤษฎีหลักสูตรมาใช้โดยการผสมผสานทฤษฎีต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเข้ามาไว้ด้วยกัน กำหนดขึ้นเพื่อการนำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร
ทฤษฎีหลักสูตรจึงเป็นการพิจารณาความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ที่สามารถนำมาปรับใช้การวางแผนและพัฒนาหลักสูตร
รวมถึงการจัดและแยกประเภทของเหตุการณ์ต่างๆ และโยงความสัมพันธ์กับเหตุการณ์
พิจารณาโครงสร้างและเนื้อหาวิชาที่เหมาะสมนำมาบรรจุไว้ในหลักสูตร
คำนึงถึงความสอดคล้องตามสภาพการณ์ต่างๆ ทั้งในส่วนของผู้เรียนและในส่วนของสังคม (Kelly.1995)
Beauchamp
(1981) ได้สรุปว่า
ทฤษฎีเป็นข้อความที่ช่วยขยายขอบเขตความรู้ของมนุษย์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
เป็นเครื่องมือของมนุษย์ซึ่งใช้ในการทำนายและคาดการณ์สิ่งต่างๆ
ที่ยังไม่เกิดขึ้นทำให้มนุษย์สามารถควบคุมปรากฏการณ์
หรือป้องกันแก้ไขเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษย์ชาติในที่สุดทฤษฎีหลักสูตร
จึงเป็นการผสมผสานข้อความเพื่อให้ความหมายซึ่งนำไปปฏิบัติในโรงเรียน
โดยการชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบและการชี้แนะให้เห็นวิธีการพัฒนา
ทฤษฎีหลักสูตรเป็นคำอธิบายสิ่งต่างๆ
เกี่ยวกับการใช้หลักสูตร การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร การประเมินผลหลักสูตร
และการนำผลที่ได้รับจากการประเมินผลมาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร (Kelly.2009) โดยเน้นการบรรยายถึงสิ่งต่างๆ
ที่แสดงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างจุดมุ่งหมายกับเนื้อหาวิชา
ระหว่างเนื้อหาวิชาและโครงสร้างของหลักสูตรทั้งหมด ปรัชญาต่างๆ
ที่มีอิทธิพลต่อการวางจุดมุ่งหมาย สภาพความจริงในสังคม และบทบาทของการศึกษาในสังคม
(Gardner and others.2000) โดยสภาพความจริงแล้วทฤษฎีและปฏิบัติมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่าง
ใกล้ชิดทฤษฎีจะอธิบายให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆ
ซึ่งการปฏิบัติจะดำเนินการอยู่ภายในขอบเขตของทฤษฎีที่กล่าวไว้
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือทฤษฎีจะเป็นสิ่งที่กำหนดแนวทางของการปฏิบัตินั้นเอง
โดยเหตุนี้ทฤษฎีจึงเป็นของคู่กันและจะต้องไปด้วยกันในการสนับสนุนการปฏิบัติ
งานให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมาย
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
สำราญ คงชะวัน (2456: 13-14)
ได้สรุปว่าการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการวางแผนและพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆ
ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน การเลือกจุดมุ่งหมายเนื้อหาวิชา
กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ ตลอดจนการวัดผลประเมินผล
เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดต่อผู้เรียน (Marsh
and Willis. 1995:129)
การพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งที่สามารถดำเนินการได้ระยะเวลา
ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปตามความหมายเหมาะสมโดยอาจปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น
หรือสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยที่ยังไม่เคยมีหลักสูตรนั้นมาก่อนก็ได้
ซึ่งผู้พัฒนาสามารถดำเนินการได้ทุกระยะเวลา
และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามความเหมาะสม
และกระบวนการวางแผนและพัฒนาประสบการณ์ในการเรียนรู้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน
บุญชม ศรีสะอาด
(2546: 21-46) ได้กล่าวถึงแนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตรว่าต้องอาศัยพื้นฐานที่สำคัญ
5 ประการ ดังนี้
1.
พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ (Historical foundation)
อิทธิพลขอพื้นฐานดังกล่าวมี
2 ลักษณะ
- หลักสูตรที่พัฒนา มีความรู้ ผลการค้นพบ
และแนวปฏิบัติที่เคยมีมาในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร
-
ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการจัดการศึกษาในอดีตเป็นบทเรียนในการสร้างหลักสูตรใหม่
2.
พื้นฐานทางปรัชญา (Philosophical foundation)
ปรัชญามีส่วนในการสร้างหลักสูตร เนื่องจากปรัชญามีส่วนในการช่วยกำหนดจุดประสงค์และการจัดการสอน
ซึ่งมีแนวปรัชญาต่างๆ มากมาย
- ปรัชญาสารัตถะนิยม (Essentialism)
เชื่อว่าแต่ละวัฒนธรรมมีความรู้ ความเชื่อ ทักษะ อุดมการณ์ที่เป็นแกนกลาง
หลักสูตรที่จัดตามแนวนี้ได้แก่ หลักสูตรแบบเนื้อหาวิชา (Subject curriculum) และแบบสหสัมพันธ์ (Broadfields
curriculum)
- ปรัชญาสัจนิยม (Perenialism) เชื่อว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือความสามารถในการใช้ความคิด
ความสามารถในการใช้ความคิด ความสามารถในการใช้เหตุผล การตัดสินแยกแยะ
และความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า การจัดหลักสูตรจึงเน้นความสำคัญของวิชาพื้นฐานได้แก่
การอ่าน เขียน และการคิดคำนวณ
- ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้โดยอาศัยประสบการณ์
ผู้สอนแบบประสบการณ์หรือกิจกรรม (Experience or activitycurriculum)
- ปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)
เน้นเรื่องชีวิตและสังคม ได้แก่ หลักสูตรที่ยึดหลักสังคมและการดำรงชีวิต (Social
process and life function curriculum) และหลักสูตรแบบแกน (Core
curriculum)
- ปรัชญาสวภาพนิยม (Existentialism) เชื่อว่าแต่ละคนกำหนดของชีวิตของตนเองได้แก่ หลักสูตรแบบเอกัตภาพ (individualized) เน้นการให้เสรีแก่ผู้เรียนมากที่สุด
3.
พื้นฐานจากสังคม (Sociogical foundation)
หลักสูตรได้รับอิทธิพลจากสังคมมากที่สุด สมาชิกในสังคมเป็นผู้สร้างและพัฒนาโรงเรียน
รากฐานทางสังคมที่มีต่อการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรและการเปลี่ยนแปลงของสังคมก็มีผลทำให้หลักสูตรต้องเปลี่ยนแปลงด้วย
4. พื้นฐานจากจิตวิทยา (Psychological foundation)
จิตวิทยามีส่วนสำคัญต่อการสร้างหลักสูตรและการสอน โดยเฉพาะจิตวิทยาพัฒนาการและจิตวิทยาการเรียนรู้
4.1 จิตวิทยาพัฒนาการ
การที่จะช่วยให้แต่ละบุคคลมีพัฒนาการที่เหมาะสมที่ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนหลักสูตร
ได้แก่ พื้นฐานทางชีววิทยาของความแตกต่างระหว่างบุคคล วุฒิภาวะทางกาย พัฒนาการ และ สัมฤทธิ์ผลทางสติปัญญา พัฒนาการทางด้านอารมณ์
และ พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งผลการวิจัยของนักทฤษฎีพัฒนาการ Hevighurst
development theory กล่าวว่า งานพัฒนาการแต่ละวัยนั้น
ถ้าหากประสบความสำเร็จในการพัฒนาในงานใด
ก็จะทำให้มีความสุขและส่งผลต่อความสำเร็จในงานต่างๆ มาก ทฤษฎีพัฒนาการ Erikson’s psychosocialtheory
ที่เชื่อว่าพัฒนาการแต่ละชั้นถ้าได้รับการส่งเสริมตามต้องการจะเกิดความพึงพอใจและมั่นใจ
สามารถพัฒนาการขั้นตอนต่อไปได้อย่างสมบูรณ์เป็นผลให้มีบุคลิกภาพดี
แต่ถ้าขั้นใดไม่ได้รับการส่งเสริมจะเกิดความคับข้องใจเกิดความไม่พึงพอใจและเป็นผลเสียต่อบุคลิกภาพ
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา Cognitive development theory ที่เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กตั้งแต่แรกเกิด
จนกระทั่งถึงวัยที่มีสติปัญญาอย่างสมบูรณ์
4.2
จิตวิทยาการเรียนรู้
ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้เป็นพื้นฐานสำคัญของเนื้อหาหลักสูตรและกิจกรรมการสอน
ทฤษฎีที่สำคัญ ได้แก่
- ทฤษฎีที่เน้นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (S-Rcondition) ได้แก่ ทฤษฎีการเสริมแรง
และทฤษฎีเงื่อนไข นักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้แก่ Pavlov Thorndike และ Skinner
- ทฤษฎีสนาม (Field theory) แนวคิดของทฤษฎีนี้คือ
ส่วนรวมทั้งหมดเป็นสิ่งสำคัญมากจะต้องมาก่อนส่วนย่อย ทฤษฎีที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ
ทฤษฎีพุทธินิยม และทฤษฎีมนุษย์นิยม
- ทฤษฎีผสมผสาน (lntegrated theory)
มีแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญคือ การศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้
การผสมผสานระหว่างทฤษฎีเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองและทฤษฎีสนาม
- ทฤษฎีการเรียนรู้ในโรงเรียนของ
Bloom เป็นทฤษฏีที่เน้นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน และ
คุณลักษณะของแต่ละคน
5. พื้นฐานจากวิชาการความรู้ต่างๆ (Disciplines of knowledge
foundations) ความรู้ของวิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ
รวมทั้งความรู้ทางอาชีพ เป็นรากฐานของการเรียนรู้ของผู้เรียน
การสร้างหลักสูตรจึงต้องมุ่งให้ผู้เรียนมีความเข้าใจมโนทัศน์ (Concept) และวิธีการของวิชานั้นๆ
นัก
วิทยาการด้านหลักสูตรหลายท่านได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนาหลัก
สูตรไว้หลายรูปแบบแตกต่างกัน ซึ่งรูปแยกการพัฒนาหลักสูตรแต่ละรูปแบบ
ไม่ว่าเป็นการพัฒนาหลักสูตรใหม่หรือการนำหลักสูตรเก่ามาพัฒนา ประกอบด้วยขั้นตอนที่คล้ายคลึงกันพอสรุปเป็นขั้นตอน (ยุทธนา ปฐมวรชาติ. 2545
: 15-18 ; Saylor and Aleylor and
Alexander. 1974 : 6)
ดังนี้ การออกแบบและการสร้างหลักสูตร (การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
การจัดทำรายละเอียดเนื้อหาสาระการเรียนรู้
การกำหนดแนวทางการจัดประสบการณ์เรียนรู้กำหนดเวลา (การนำหลักสูตรไปใช้และการประเมินหลักสูตร
Tyler (1949 : 1)
ได้กำหนดกระบวนการวางแผนหลักสูตรและให้ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้บังเกิดผลดีต่อผู้เรียน
โดยเสนอแนะว่าสิ่งที่ต้องคำนึงในการวางแผนหลักสูตร
อะไรคือจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ต้องการให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาปฏิบัติ? ทำอย่างไรจึงจัดประสบการณ์การศึกษาให้สอดคล้องกับจุดหมายมุ่งกำหนดไว้?
ทำอย่างไรจึงจะจัดการประเมินประสบการณ์การศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น